Monday, June 25, 2012

การฝังเข็มช่วยลดน้ำหนัก ได้อย่างไร

ฝังเข็มช่วยลดน้ำหนักได้อย่างไร

   

              ก่อนอื่นต้องแยกสาเหตุความอ้วนหรือโรคอ้วน กันซะก่อน ซึ่งแบ่งออกได้ 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ

1. กลุ่มอ้วนแกร่ง คือมีสาเหตุจากเรื่องกระเพาะอาหารและลำไส้ร้อน
 
2. กลุ่มอ้วนพร่อง คือมีสาเหตุจากเรื่องการทำงานของ ม้ามพร่อง หรือส่วนน้อยอาจจะมีไตพร่องด้วย

               การฝังเข็มเพื่อลดน้ำหนักจะไปช่วยปรับสมดุลการทำงานของอวัยวะในร่างกาย ให้กลับมาเป็นปกติ และจำเป็นที่แพทย์ต้องวินิจฉัยว่าคนไข้เป็นคนอ้วนแบบใด

               กลุ่มอ้วนจากสาเหตุเรื่องกระเพาะอาหารและลำไส้ร้อน การรักษาจะมุ่งไปที่การขจัดความร้อนและระบายไฟออกจากกระเพาะอาหารหรือในคน ที่มีสาเหตุจากเรื่องเสมหะตกค้างในร่างกาย การรักษาจะมุ่งไปที่เสริมการทำงานของม้าม สลายเสมหะและปรับพลังชี่ (ไขมันส่วนเกินของร่างกายถูกจัดเป็น เสมหะชนิดหนึ่งในหลักการแพทย์จีน )

               ปกติการฝังเข็มลดน้ำหนักจะใช้วิธีลงเข็มตามแขนขาและหน้าท้อง บางรายอาจต้องลงเข็มบริเวณหลังด้วย การลงเข็มที่จุดใดบริเวณใดขึ้นอยู่กับสาเหตุตามที่ได้กล่าวไปแล้ว

                เพื่อให้การลดน้ำหนักได้ผลดียิ่งขึ้น การลงเข็มที่บริเวณใบหูร่วมด้วย เรียกว่า ฝังเข็มที่หู จะ ทำให้ผู้ป่วยมีความรู้สึกเบื่ออาหาร ลดการอยากทานลงไปได้  ซึ่งเป็นวิธีไปเสริมการลงเข็มบริเวณแขนขาลำตัวที่ไปจัดปรับสมดุลอวัยวะ ต่างๆ
                 สำหรับผู้ที่มีรูปร่างอ้วนไม่มากนัก การลงเข็มหูแต่เพียงอย่างเดียวก็อาจเพียงพอที่จะไปช่วยระงับความอยากรับ ประทานอาหารให้ลดลงได้

ที่มาของข้อมูล :  Thaiyinyang.com

Wednesday, June 13, 2012

กดจุดรักษาอาการปวดศีรษะ

อาการปวดหัวเป็นเรื่องใกล้ตัวที่อยู่ในชีวิตประจำวัน ของเราทุกคน คนบางคนอาจมีอาการปวดศีรษะได้ง่ายและมากกว่าคนบางคน อาการปวดศีรษะอาจ มีอาการตั้งแต่ปวดเล็กน้อยจนถึงปวดมากๆ เช่น ปวดไมเกรน ที่มักจะมีอาการปวดมากและมักจะเป็นเพียงข้างใดข้างหนึ่ง สำหรับคนที่ปวดศีรษะมากอาจมีอาการถึงขั้นทำงานไม่ได้ต้องลาหยุดงานไปเลย โดยปกติการรักษาอาการปวดศีรษะในปัจจุบันมักจะใช้วิธีทานยาแก้ปวด ซึ่งยาที่ทานก็มีตั้งแต่ ยาแก้ปวดทั่วไปจนถึงยาแก้ปวดที่มีฤทธิ์แก้ปวดมาก ซึ่งถ้าหากเป็นการทานยาอย่างต่อเนื่อง อาจมีผลข้างเคียงของการใช้ยาที่ไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นได้  ในทางตรงกันข้ามหากการรักษา อาการปวดศีรษะไม่ต้องใช้วิธีทานยา แต่หันมาใช้วิธีการแพทย์จีนเช่นการฝังเข็ม หรือการกดจุดมาใช้แทนก็จะสามารถช่วยระงับอาการปวดศีรษะได้เป็นอย่างมาก
สำหรับผู้ที่ไม่ได้ปวดศีรษะแบบเรื้อรัง หรือในผู้ที่พึ่งปวดศีรษะมาได้ไม่นาน การรักษาด้วยการกดจุด จะให้ผลดีในการรักษาอย่างมาก        สำหรับผู้ที่มีอาการปวดแบบเรื้อรังหรือปวดแบบไมเกรนหรือ ปวดแบบไตรเจมินอล (Trigeminal neuralgia) หรือปวดที่หน้าบริเวณข้อต่อกระดูกขากรรไกร (Temporomandibular pain) การกดจุดแต่เพียงอย่างเดียวอาจไม่สามารถช่วยให้ดีขึ้นได้มากนัก มีความจำเป็นต้องได้รับการตรวจ วินิจฉัยและรักษาจากแพทย์ ด้วยวิธีการฝังเข็มร่วมกับการทานยาสมุนไพรด้วย
จุดกดสำคัญที่ใช้รักษาอาการปวดหัว ได้แก่จุดเหอกู่ (Hegu/LI4) จุดเฟิงฉือ (Fengchi/GB20) จุดกดเจ็บ (จุดอาซื่อ/Ahshi) จุดซ่านจู้ (Zanzhu/BL2) จุดซ่างซิง (Shangxing/DU23) จุดไป๋หุ้ย (Baihui/DU20) จุดจู๋ซานหลี่ (Suzanli/ST36)

จุดเหอกู่ (Hegu/LI4) เป็น จุดที่มีความสำคัญและใช้กันมากจุดหนึ่ง เป็นจุดที่อยู่ในเส้นลมปราณลำไส้ใหญ่ มีการใช้จุดนี้เพื่อขับเคลื่อนการไหลเวียนของพลังชี่ (Qi) ใช้ในการระงับอาการปวด ใช้สร้างภูมิคุ้มกันโรคและใช้ในการกระตุ้นการคลอด จุดนี้ถูกใช้ในการขับเคลื่อนการไหลเวียนของพลังชี่ (Qi) ไม่ให้เกิดการอุดตัน โดยเฉพาะในบริเวณศีรษะ แต่ก็สามารถจะใช้จุดนี้กับส่วนอื่นๆของร่างกายได้อีกด้วย  เป็นจุดที่เหมาะสำหรับการรักษาอาการปวด โดยเฉพาะอาการปวดศีรษะ ปวดฟัน ปวดตา ตาอักเสบ ปวดไซนัส (ทิศทางเดินของเส้นลมปราณลำไส้ใหญ่ เดินจากปลายนิ้วชี้ผ่านแขนด้านนอก ข้ามมาที่บริเวณหัวไหล่ จึงทำให้มีคุณสมบัติช่วยรักษาอาการผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับแขน มือและไหล่ได้ดี  และจุดเหอกู่เป็นจุดที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการรักษาอาการผิดปกติ ในบริเวณดังกล่าวนี้)
จุดเหอกู่ยังมีความเชื่อมโยงกับระบบทางเดินอาหาร จึงทำให้มีการนำ เอาจุดนี้ไปใช้รักษาอาการปวดท้อง และอาการท้องผูก ร่วมกับอาการ ลำไส้ใหญ่อักเสบอื่นๆได้อีกด้วย


ตำแหน่งของจุดนี้อยู่ที่บริเวณกล้ามเนื้อระหว่างนิ้วชี้และหัวนิ้วมือ เป็นจุดที่อยู่สูงสุดเมื่อเลื่อนนิ้วทั้งสองเข้าหากัน




การกดจุดนี้ทำได้ด้วยการใช้หัวนิ้วมือของมือข้างหนึ่งกดคลึงที่บริเวณ จุดดังกล่าวของมืออีกข้างหนึ่ง อาจจะใช้ดินสอปลายยางลบกดและคลึงที่จุดดังกล่าวนาน 2-3 นาทีได้เช่นกัน หรือจนกว่าจะรู้สึกหนักๆชาๆบริเวณที่กดหรือบริเวณผ่ามือนั้น ในบางคนที่มีความรู้สึกไวๆอาจจะมี ความรู้สึกไปตลอดแนวเส้นลมปราณ วิ่งไปตามแขนถึงไหล่ถึงศีรษะได้ (ห้ามกดจุดนี้ในคนท้องเพราะจะไปกระตุ้นให้ มีการบีบตัวของมดลูก ทำให้เกิดปัญหาตามมาได้)

จุดเฟิงฉือ (Fengchi/GB20) เป็นจุดที่อยู่ในเส้นลมปราณถุงน้ำดี เป็นจุดที่สำคัญอีกจุดหนึ่ง ที่ใช้ในการปรับสมดุล ของร่างกายในส่วนของศีรษะและอวัยวะสัมผัสต่างๆ เป็นจุดที่มีความสำคัญใช้ ในการรักษาอาการปวดศีรษะจากหลายๆสาเหตุ โดยเฉพาะอาการปวดศีรษะ ตาแดง น้ำตาไหล ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ หรือเมื่อร่างกายถูกกระทำจากการเปลี่ยนแปลงของลมและอากาศเย็น นอกจากใช้รักษาอาการปวดศีรษะที่เกิดจากการกระทำของลม หรือจากการเปลี่ยนแปลงของอากาศภายนอกแล้ว จุดนี้ยังถูกนำมาใช้รักษาอาการที่เกิดจากลมที่เกิดภายในร่างกายซึ่งเป็นลม ที่เกิดจากการทำงานผิดปกติของตับ เช่นมีอาการปวดศีรษะ อาการสั่น ความดันสูง หรือที่รุนแรงถึงขั้นเป็นอัมพาต
ตำแหน่งของจุดเฟิงฉืออยู่บริเวณด้านหลังของคอ บริเวณท้ายทอยอยู่ใต้กระดูกทัดดอกไม้ ด้านในเวลาคลำที่บริเวณทัดดอกไม้ให้คลำจากยอดทัดดอกไม้ทแยงลงมาด้านใน ของหลังคอจะคลำรู้สึกได้เป็นรอยบุ๋มลงไปเล็กน้อย และเมื่อกดลงไปที่รอยบุ๋มนี้จะรู้สึก หนักๆชาๆที่บริเวณท้ายทอย



การกดจุดให้ใช้ปลายนิ้วมือทั้ง4นิ้ว (นิ้วชี้ กลาง นาง ก้อย) คลำบริเวณด้านหลังคอบริเวณ ทัดดอกไม้ลงมา เมื่อคลำพบรอยบุ๋มดังกล่าวแล้วจึง ใช้ปลายนิ้วชี้หรือนิ้วกลางกดลงไป การกดอาจจะใช้ปลายดินสอยางลบกดแทนปลายนิ้วมือได้  การกดจุดให้ใช้วิธีการ กดร่วมกับการปล่อยนาน 2- 3 นาทีหรือจนกว่าจะรู้สึกอาการปวดดีขึ้น  การกดจุดนี้มักจะกดจุดทั้ง 2 ข้างของศีรษะ หรือนอกจากจะมั่นใจว่าอาการปวดเป็นเพียงข้างเดียวแน่ๆ ก็สามารถกดเพียงข้างเดียวได้(จุดเฟิงฉือ เป็นอีกจุดหนึ่งที่สามารถใช้ร่วมกับจุดอื่นๆ ใช้ในการรักษาอาการป่วยที่เป็นผลจากการอุดตันหรือการที่เลือดหมุนเวียนติด ขัดเช่น อาการเวียนศีรษะ ความคิดเหม่อลอย  ตาลาย เสียงดังในหู  หูหนวก ความผิดปกติของการได้กลิ่น ความผิดปกติของการรับรส  ได้เป็นอย่างดี)

จุดกดเจ็บ (จุดอาซื่อ/Ahshi) เป็น จุดที่อยู่ในบริเวณที่ปวดหรือใกล้ๆกับบริเวณที่ปวดเช่น บริเวณคอหรือศีรษะเป็นจุดที่มักจะเกิดขึ้นได้เอง ผู้ป่วยมักจะบอกได้ว่าตนเองมีจุดกดเจ็บ อยู่ที่ไหน ซึ่งจะช่วยให้แพทย์รักษาได้ง่ายขึ้นหรือในบางครั้งแพทย์สามารถ ตรวจพบจุดกดเจ็บได้อย่างง่ายๆจากการตรวจร่างกายที่บริเวณนั้นๆ  จุดกดเจ็บที่ มักตรวจพบได้บ่อยๆได้แก่บริเวณต้นคอและที่ศีรษะ ซึ่งจะพบได้บ่อยครั้งที่จุดกดเจ็บจะ เกิดขึ้นใกล้ๆกับบริเวณจุดที่เกิดโรค การกดจุดนี้อาจจะใช้ปลายนิ้วมือใดนิ้วมือหนึ่ง ที่ผู้กดถนัดกดลงไปที่จุดๆนั้น หรืออาจจะใช้ดินสอด้านปลายยางลบ กดลงไปจนรู้สึกมีอาการเจ็บ หนักๆ หรือชาๆ โดยปกติการกดจุดที่จุดนี้จะ ค่อนข้างเจ็บเพราะที่บริเวณจุดกดเจ็บนี้ถึงแม้จะไม่กด ผู้ป่วยก็มักจะรู้สึกเจ็บมากอยู่แล้ว

จุดซ่านจู้ (Zanzhu/BL2) เป็น จุดในเส้นลมปราณกระเพาะปัสสาวะ เป็นจุดที่ใช้ในการควบคุม พลังชี่ (Qi) ที่บริเวณลูกนัยน์ตาและที่บริเวณศีรษะ ช่วยระงับอาการปวดได้ด้วย เป็นจุดที่ใช้ในการ รักษาอาการปวดศีรษะด้านหน้า ใช้ในการรักษาอาการปวดจากไซนัส หรืออาการปวดศีรษะจาก อาการหวัด หรือใช้ในการรักษาอาการปวดศีรษะจากสาเหตุของสายตา ตาอักเสบ ตาแดงหรือปวดตา เนื่องจากจุดนี้อยู่ในเส้นลมปราณกระเพาะปัสสาวะซึ่งวิ่งผ่านแนวหลังขนานกับ กระดูกสันหลัง จึงถูกนำมาใช้ในการรักษาอาการปวดหลัง หรือปวดคอได้ด้วยในบางครั้ง
ตำแหน่งของจุดนี้อยู่บริเวณเหนือหัวคิ้วด้านในทั้งสองข้างเล็กน้อย
การกดจุดสามารถใช้นิ้วกดหรือใช้ปลายดินสอยางลบก็ได้ การใช้นิ้วกดให้ใช้อุ้งนิ้วหัวแม่มือ กดที่บริเวณดังกล่าวทีละข้าง การใช้ปลายแท่งดินสอกดให้ระวังไม่ให้พลาดมาถูกลูกนัยน์ตา

จุดซ่างซิง (Shangxing/DU23) เป็น จุดในเส้นลมปราณตู เป็นจุดที่ใช้ในการปรับสมดุล ของจมูกและนัยน์ตา ช่วยลดอาการปวดและช่วยสงบจิตได้  เป็นจุดที่ใช้ในการรักษาอาการปวด หัวบริเวณหน้าผากได้ดี เหตุผลก็เช่นเดียวกับจุดจุดซ่านจู้ (Zanzhu/BL2) นอกจากนี้จุดนี้ยังใช้รักษา อาการอื่นๆได้อีกเช่น อาการกระสับกระส่าย อาการสับสนจากความเครียด ใช้จุดนี้บ่อยในการรักษา อาการปวดหัวจากโรคไซนัสอักเสบ หรือใช้จุดนี้รักษาอาการจมูกดมไม่ได้กลิ่น หรือปัญหาสายตาสั้น โดยเฉพาะในเด็ก
ตำแหน่งของจุดนี้อยู่ที่บริเวณกลางศีรษะอยู่เหนือรอยเส้นผมด้านหน้ากลาง ศีรษะสูงขึ้นไปประมาณครึ่งนิ้ว
การกดจุดสามารถใช้อุ้งมือนิ้วชี้หรือนิ้วกลางกดจุดกลางศีรษะ หรือจะใช้แท่งดินสอปลาย ยางลบกดก็ได้เช่นกัน

จุดไป๋หุ้ย (Baihui/DU20) เป็น จุดที่อยู่ในเส้นตู มีหน้าที่ช่วยสงบจิต ช่วยฟื้นคืนสติผู้หมดสติ ช่วยทำให้สมองปลอดโปร่ง ช่วยไปปรับโดยการเพิ่มหรือลดระดับหยางให้อยู่ในระดับพอดี จุดนี้เป็นจุดหลักในการ รักษาอาการปวดหัวแบบทั่วไปและแบบกลางศีรษะ ช่วยรักษาอาการหนักๆ และอาการเกร็งของคอ ช่วยรักษาอาการปวดศีรษะจากความความดันโลหิตสูงหรือต่ำ และยังใช้จุดนี้รักษาอาการแขนขาสั่น อาการหมดสติ อาการอัมพาตด้านใดด้านหนึ่ง อาการชัก ความจำเสื่อม อาการเวียนศีรษะ อาการสับสน นอกจากนี้ยังมีการนำเอาจุดนี้ไปช่วยรักษาอาการ มดลูกหย่อน ริดสีดวงทวาร และอาการเลือดออกไม่หยุด
ตำแหน่งของจุดนี้อยู่ที่กลางศีรษะอยู่ระหว่างยอดหูทั้งสองข้าง
การกดจุดสามารถใช้อุ้งมือนิ้วชี้หรือนิ้วกลางกดจุดกลางศีรษะ หรือจะใช้แท่งดินสอปลาย ยางลบกดก็ได้เช่นกัน

จุดจู๋ซานหลี่ (Suzanli/ST36) เป็น จุดที่อยู่ในเส้นลมปราณกระเพาะอาหาร มีหน้าที่ช่วยเสริม พลังชี่ (Qi) ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น ช่วยการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันให้ดีขึ้น ช่วยระงับอาการปวด ช่วยให้จิตใจสงบ ช่วยเรียกฟื้นคืนสติ เป็นจุดที่ถูกนำมาใช้รักษามากที่สุด เป็นจุดที่มีพลังในเส้นลมปราณกระเพาะอาหารมากที่สุดและเป็นจุดที่ถูกนำมาใช้ เป็นประจำในการ รักษาอาการผิดปกติของระบบย่อยอาหาร รวมถึงอาการปวดศีรษะบริเวณด้านหน้าที่เกิดจากความผิดปกติของกระเพาะอาหาร จุดนี้เป็นจุดหลักที่ใช้ในการบำรุงร่างกายใช้รักษา อาการอ่อนเพลียที่เกิดมาจากสาเหตุทั้งจากกายและใจ ดังนั้นถ้าเป็นอาการปวดหัวจากความอ่อนเพลีย หรือจากการรบกวนของกระเพาะอาหารทำงานผิดปกติ (ซึ่งมักจะเป็นอาการปวดหัวด้านหน้า) สามารถรักษาโดยใช้จุดนี้ได้  นอกจากนี้แล้วยังสามารถใช้จุดนี้ในการรักษาความผิดปกติอื่นๆ ได้อีกเช่น อาการเบื่ออาหาร โรคกระเพาะอาหาร ถ่ายเหลวปนเลือดแบบโรคบิด อาการคลื่นไส้อาเจียน ท้องผูกและถ่ายเหลว อาการทางด้านผิวหนังเช่น เป็นผื่นแดง เป็นลมพิษ เป็นต้น  
ตำแหน่งของจุดนี้อยู่ที่บริเวณหน้าแข้งทั้งสองข้าง อยู่ใต้กระดูกสะบ้าที่หัวเข่าลงมาประมาณ 3 นิ้ว (ประมาณ 1 ผ่ามือ) และอยู่ห่างจากขอบกระดูกหน้าแข้งออกมาด้านข้างประมาณ 1 นิ้ว
การกดจุดสามารถใช้นิ้วมือกดหรือใช้ปลายดินสอยางลบมากด โดยให้คลำหาจุดที่จะกดก่อน โดยใช้ผ่ามือมาวัดระยะทางจากใต้กระดูกสะบักที่หัวเข่าต่ำลงมา 1 ผ่ามือ (ประมาณ 3 นิ้ว) แล้วจึงคลำหาขอบกระดูกหน้าแข้ง (กระดูกทิเบีย/Tibia) ให้ห่างออกมา 1 นิ้ว จุดนี้คือจุดจู๋ซานหลี่ เมื่อคลำได้จุดแล้วจึงให้กดโดยใช้อุ้งมือหัวนิ้วแม่มือกดคลึงลงไปที่บริเวณ ดังกล่าวจะรู้สึกได้ถึง ความรู้สึกหนักๆตื้อๆที่บริเวณนี้ ถ้าต้องการใช้ปลายดินสอยางลบกดให้เปลี่ยนมาใช้มือ แท่งดินสอแล้วกดลงที่จุดดังกล่าวให้แท่งดินสอตั้งฉากกับขา กดในแบบกดแล้วปล่อย ร่วมกับกดในแบบกดแล้วบิดแท่งดินสอ

Friday, June 8, 2012

หญ้าหนวดแมว : สมุนไพรช่วยผู้ป่วยนิ่วในไตได้

ขอขอบพระคุณ บทความดีๆ จาก เวบต์ไซสถาบันการแพทย์แผนไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์ :orthosiphon aristatus Mig.

ชื่อพ้อง : O. graudiflorus Bolding  หรือ:O. Stamineus Benth.

สารสำคัญ ในใบของหญ้าหนวดแมว มีเกลือโปแตสเซียม ในปริมาณ สูง 0.7-0.8 %


  หญ้าหนวดแมวเป็นพืชที่ปลูกอยู่ทั่วไปตามบ้าน มีดอกขาวสวย ออกดอกเกือบทั้งปี จึงเป็นไม้ประดับที่สวยงาม นอกจากนั้นยังมีคุณค่าทางการรักษา เกสรตัวผู้ยื่นยาวออกมานอกกลีบดอก ทำให้มีลักษณะคล้ายหนวดแมว จึงมีคนเรียกพืชชนิดนี้ว่า หญ้าหนวดแมว

หญ้าหนวดแมว เป็นพืชที่ปลูกง่ายนิยมปลูกโดยการปักชำ หรือใช้เมล็ด ขึ้นง่าย เติบโตได้เร็ว ปลูกเป็นแปลงผัก หรือปลูกในกระถาง หญ้าหนวดแมวมีชื่อพื้นเมือง เช่น พยัพเมฆ, บางรักป่า, อีตู่ดง

ฤทธิ์และประโยชน์ทางยา

ใช้ ปัสสาวะ ขับนิ่ว ใบอ่อนใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ที่มีประสิทธิภาพสูงเนื่องจากมีเกลือโปแตสเซียมมาก หญ้าหนวดแมวใช้รักษานิ่วได้ทั้งนิ่วด่างซึ่งเกิดจากแคลเซียม (หินปูน) ซึ่งมักจะเป็นก้อนที่เกิดจากการดื่มน้ำที่มีหินปูน และใช้รักษานิ่วกรดซึ่งเกิดจากกรดยูริก นิ่วจำนวนนี้จะไม่เป็นก้อนแต่จะร่วนเป็นเม็ดทราย ไม่ทึบแสง มักเกิดจากการรับประทานเนื้อสัตว์และเครื่องในสัตว์มากเกินไป ทำให้มีกรดยูริกสูง เมื่อรับประทานหญ้าหนวดแมว ซึ่งมีโปแตสเซียมสูง จะทำให้ในกรดมีฤทธิ์เป็นด่าง ทำให้กรดยูริก และเกลือยูเรต (urate) ไม่จับตัวเป็นก้อน ช่วยป้องกันไม่ให้แคลเซียมตกค้างในไต ช่วยขยายท่อไตให้กว้างขึ้น จึงช่วยบรรเทาอาการปวด หญ้าหนวดแมวไม่มีฤทธิ์ละลายนิ่ว ดั้งนั้นนิ่วก้อนใหญ่จะไม่ได้ผล ใช้ได้ดีกับนิ่วก้อนเล็กๆ ฤทธิ์ขับปัสสาวะของหญ้าหนวดแมวจะช่วยดันเม็ดนิ่วเล็กๆ ให้หลุดออกมา (วันดี กฤษณพันธ์ .2539 : 162)

ผลการศึกษาวิจัยหญ้าหนวดแมว

ศ.นพ.วีรสิงห์ เมืองมั่น ได้ทำการศึกษากับผู้ป่วยที่เป็นนิ่วในโรงพยาบาลรามาธิบดี โดยให้คนไข้รับประทานยาชงหญ้าหนวดแมวทุกวัน วันละ 3 เวลา 2-6 เดือน ผลพบว่า ได้ผลดี สามารถลดขนาดนิ่ว 23 ราย มีนิ่วหลุด 40 % มีอาการดีขึ้น 20%

รศ.นพ.อมร เปรมกมล ได้ทำการศึกษาผลของหญ้าหนวดแมวในการลดขนาดนิ่วไต ซึ่งได้นำเสนอผลงานวิจัยหญ้าหนวดแมว ในการประชุมเสนอผลงานวิชาการในวันที่ 27-29 มิถุนายน 2543 พบว่าหญ้าหนวดแมว สามารถลดขนาดนิ่วได้ และผู้ป่วยนิ่วที่มีอาการเรื้อรังได้แก่อาการแน่นท้อง ปวดเอว ปวดข้อ เมื่อยเพลีย ปวดศีรษะ แสบร้อนสีข้าง ปวดขา หลังให้การรักษาด้วยหญ้าหนวดแมว พบว่า อาการดังกล่าวลดลง เกือบจะหมด และยังทำให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้น สามารถทำงานได้มากขึ้น

จากผลการศึกษาปรากฏว่าผลของสมุนไพรหญ้าหนวดแมว ในการลดขนาดนิ่วไตที่ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ และเป็นผลดีต่อผู้ป่วยโรคนิ่วไตที่ได้รับความทุกข์ทรมานทางกาย ความทุกข์ทางใจ การสูญเสียเงินค่ารักษาพยาบาลต่อครั้งที่มีราคาสูง การเป็นนิ่วที่พบบ่อยในภาคอีสาน ซึ่งประชาชนมีฐานะยากจน การรักษาด้วยการแพทย์แผนปัจจุบัน ได้แก่การผ่าตัด การสลายนิ่ว ล้วนแต่ต้องใช้เงินมากมายนั้น การนำสมุนไพรหญ้าหนวดแมวมาใช้กับผู้ป่วยโรคนิ่ว เป็นวิธีที่ดีอีกวิธีหนึ่ง ช่วยลดค่ารักษาพยาบาล ประชาชนปลูกใช้เอาได้ ขั้นตอนใช้ไม่ยุ่งยาก

ข้อแนะนำและวิธีการใช้

ใช้ยอดอ่อน (ซึ่งมีใบอ่อน 2 – 3 ใบ) ควรเก็บช่วงที่หญ้าหนวดแมวกำลังออกดอก เพราะจะเป็นช่วงที่มีสารสำคัญมาก (แต่ไม่ใช้ดอก) นำมาหั่นเป็นท่อนสั้นๆตากแดดให้แห้งแล้วใช้ 1 หยิบมือ (2 กรัม) ชงกับน้ำเดือด 1 แก้ว ปิดฝาทิ้งไว้ 5 – 10 นาที ดื่มขณะร้อนๆ วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร และต้องดื่มน้ำตามมากๆ

ข้อควรระวัง

    เนื่องจากหญ้าหนวดแมวมีเกลือโปแตสเซียมสูง จึงไม่ควรใช้กับคนที่เป็นโรคหัวใจ

    ควรใช้การชง ไม่ควรใช้การต้มและควรใช้ใบอ่อน ไม่ใช้ใบแก่ เพราะอาจมีสารละลายออกมามากเกินไป ทำให้มีฤทธิ์กดหัวใจ

    ถ้าใช้ใบสดจะมีอาการคลื่นไส้และหัวใจสั่น จึงควรใช้ใบตากแห้ง

    สารจากหญ้าหนวดแมวจะทำให้ยาจำพวกแอสไพรินไปจับกล้ามเนื้อหัวใจมากขึ้น จึงไม่ควรใช้หญ้าหนวดแมวร่วมกับแอสไพริน

 เอกสารอ้างอิง

    วันดี กฤษณพันธ์. สมุนไพรน่ารู้. พิมพ์ครั้งที่ 2 สำนักพิมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2539.

    วิทย์ เที่ยมบูรณธรรม. พจณานุกรมสมุนไพรไทย. กรุงเทพฯ. โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์, 2531

    อมร เปรมกมล และคณะ รายงานวิจัย เรื่องการศึกษาผลของหญ้าหนวดแมวในการลดขนาดของนิ่วไต. คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.งานวิจัย 2541

Wednesday, May 23, 2012

ประโยชน์ และ สรรพคุณสมุนไพรจีน รวมถึงโทษของสมุนไพรจีน

สมุนไพรจีนนั้นมีมาช้านานมากแล้วในเมืองไทยและวันนี้เราจึงของนำความรู้ในเรื่องประโยชน์ของสมุนไพรจีนและสรรพคุณสมุนไพรจีนรวม ถึงโทษของสมุนไพรจีนหากว่าบริโภคมากเกินไป ใครที่ชอบรับประทานสมุนไพรจีนจึงต้องควรศึกษาถึง สรรพคุณสมุนไพรจีน กันสักหน่อยเพื่อให้ได้ประโยชน์ของ สรรพคุณสมุนไพรจีน กันอย่างครบถ้วนและบำรุงร่างกายได้อย่างสูงสุด แต่ในเรื่องของโทษในสมุนไพรจีนนั้นก็จะมีข้อควรระวังกันสักเล็กน้อย ฉะนั้นแล้วเราก็มาดู ประโยชน์ของสสมุนไพรจีน สรรพคุณสมุนไพรจีน


ประโยชน์ / สรรพคุณสมุนไพรจีน / โทษของสมุนไพรจีน

1. เห็ดหลินจือ

ในปี 2003 การศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Ethnopharmacology ยืนยันว่าเห็ดหลินจือโดดเด่นในสรรพคุณของสารต้านอนุมูลอิสระ ผู้ป่วยเอดส์และมะเร็งบางรายจึงใช้เห็ดหลินจือในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันเร่ง การผลิตเม็ดเลือดขาว บรรเทาอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบในผู้ชาย และอาจช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตหรือแพร่กระจายของเนื้องอกในร่างกาย อย่างไรก็ดีเห็ดหลินจืดมีผลข้างเคียงที่ต้องระวัง เช่น อาจทำให้คลื่นเหียน คัน และหากกินมากเกินไปอาจกระตุ้นอาการบ้านหมุนก็ได้

2. เก๋ากี้

มีชื่ออินเตอร์ว่า "โกจิเบอร์รี่" (แต่คนไทยอาจจะคุ้นเคยกับชื่อภาษาจีนมากกว่า) เห็นเล็ก ๆ อย่างนี้ แต่ก็เต็มไปด้วยสารอาหารมากมายไม่ว่าจะเป็นคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน ใยอาหาร แคลเซียม โพแทสเซียม ธาตุเหล็ก สังกะสี ซีลีเนียม วิตามินบี 2 วิตามิน และยังมีกรดไขมันโอเมก้า-3 อีกด้วย แม้โดยรวมจะไม่มีการพิสูจน์ทางคลินิกแต่ก็เชื่อกันว่าเก๋ากี้มีสรรพคุณเป็น ยาอายุวัฒนะชั้นเลิศ

3. เกาลัดจีน

เกาลัดต่างจากถั่วหรือเมล็ดพืชอื่น ๆ ตรงที่มันมีไขมันน้อยมาก แต่กลับเป็นถั่วชนิดเดียวที่มีวิตามินซีเทียบเท่ากับมะนาว แน่นอนว่ามันเป็นพืชจึงไม่มีคอเลสเตอรอล เกาลัดจีนมีสารอาหารคล้ายข้าวกล้อง จึงมีคำกล่าวว่ามันคือ "ธัญพืชที่เกิดบนต้นไม้" ด้วยความที่มันมีกรดโฟลิก วิตามินซี และคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน มันจึงเป็นหนึ่งในอาหารที่ให้พลังงานแก่ร่างกายได้ดีที่สุด นอกจากนี้ชาวจีนโบราณยังเชื่อว่าเกาลัดจะช่วยให้ลมหายใจหวานสดชื่นอีกด้วย

4. เก๊กฮวย

ชาเก๊กฮวยถูกใช้เป็นยาพื้นบ้านมานานในฐานะยาลดไข้โดยมีสารอาหารทั้งวิตามิน เอ วิตามินบี1 กรดอะมิโน ฟลาวานอยด์ เชื่อกันว่ามันจะช่วยลดความดันโลหิตสูง ลดคอเลสเตอรอล "เลว" และบรรเทาอาการเจ็บหน้าอก นอกจากนี้การศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Ethnopharmacology ก็ยังเปิดเผยว่ามันมีสรรพคุณช่วยปกป้องระบบประสาทจากความแก่ชราหรืออาการบาด เจ็บต่าง ๆ ดังนั้น เป็นหนุ่มสาวก็ดื่มได้ประโยชน์ดีเช่นกัน

Tip : เปลี่ยนจากชาฝรั่งมาดื่มชาเก๊กฮวยกันบ้าง โดยนำดอกเก๊กฮวยแห้งแช่ในน้ำร้อนประมาณ 5 นาที ก็จะได้ชาเก๊กฮวยสีเหลืองที่หอมกลิ่นดอกไม้

5. แปะก๊วย

เหมาะเป็นอย่างยิ่งสำหับสุภาพสตรีที่กำลังเข้าสู่วัยทอง เนื่องจากมันมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ชื่อไฟโตเอสโตรเจนซึ่งอาจช่วยทำหน้าที่ แทนฮอร์โมนที่ไม่สมดุลได้ นักวิจัยจึงเชื่อว่ามันมีสรรพคุณบรรเทาอาการของวัยของหลายอย่าง ได้แก่ โรคกระดูกพรุน โรคนอนไม่หลับ อัลไซเมอร์ และโรคเกี่ยวกับระบบไหลเวียนโลหิต อีกมากมาย อย่างไรก็ตาม การกินแปะก๊วยก็อาจให้ผลข้างเคียง อย่างเช่น ท้องร่วง ปวดศีรษะ กล้ามเนื้ออ่อนแรง คลื่นไส้อาเจียน เลือดไหลหรือผิวช้ำผิดปกติ หากมีอาการดังกล่าวก็ให้รีบไปพบแพทย์เสีย

6. เห็ดหอม

อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก วิตามินซี โปรตีน และใยอาหาร เห็ดหอมอยู่ในตำรับยาจีนมานานกว่า 6 พ้นปี โดยเชื่อว่ามันสามารถกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันได้เพราะมีสารชนิดหนึ่งชื่อว่า Letinan คอยต่อสู้กับเชื้อไวรัสต่าง ๆ มันอัดแน่นไปด้วย L-Ergothioneine สารต้านอนุมูลอิสระ และดีต่อหัวใจ เนื่องจากมันช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลโดยรวมได้ อย่างไรก็ตามเนื่องจากในเห็ดหอมมีสาร Purines หากกินมากเกินไปแล้วอาจทำให้มีการสะสมกรดยูริกจนเสี่ยงต่อโรคเกาต์และนิ่วใน ไตอย่างมาก คนที่มีปัญหาไตหรือเกาต์จึงไม่ควรกินเห็ดหอม

7. เมล็ดบัว

เป็นแหล่งโปรตีน แมกนีเซียม โพแทสเซียม และฟอสฟอรัส รวมถึงเอนไซม์ชนิดหนึ่ง ชื่อว่า L-lsoaspartyl Methyltransferase ซึ่งช่วยซ่อมแซมโปรตีนที่ถูกทำลาย นักวิทยาศาสตร์จึงเชื่อกันว่าเมล็ดบัวเป็นอาหารที่ช่วยชะลอความแก่ชราได้ใน ตำรับจีนเชื่อว่า รสหวานโดยธรรมชาติของเมล็ดบัวจะช่วยบรรเทาอาการท้องร่วงและช่วยกล่อมเกลาจิต ใจทำให้นอนหลับสบาย ส่วนแกนของเมล็ดนั้นมีรสขมและมีฤทธิ์เย็นจึงดีต่อหัวใจโดยการช่วยขยายหลอด เลือดและลดความดันโลหิต อย่างไรก็ตามเนื่องด้วยมีสรรพคุณรักษาอาการท้องร่วงคนที่ท้องผูกจึงควรหลีก เลี่ยงเมล็ดบัวโดยเด็ดขาด

8. โสม

หากพูดกันถึงสมุนไพรจีนคงขาดโสมไปไม่ได้โสมแดงของจีนนั้นถูกใช้ในทางการ แพทย์มาหลายศตวรรษและในปัจจุบันก็ยังมีการใช้อย่างแพร่หลาย ในสมัยโบราณเชื่อว่าโสมเป็นยาอายุวัฒนะส่งเสริมปัญญาและความแข็งแรง แม้ว่ายังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมแต่การศึกษาจาก University of Maryland ก็ชี้ว่าโสมสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้จริงช่วยลดคอเลสเตอรอลเลวและช่วยให้ กระปรี้กระเปร่า อย่างไรก็ดีโสมไม่เหมาะกับคนที่เป็นความดันโลหิตสูงคนที่เป็นเบาหวาน สตรีมีครรภ์ และหญิงสาวที่กำลังให้นมบุตร
9. รากชะเอม
นอกจากใช้ในตำรับจีนแล้วยังสาวต้นตอไปได้ถึงสมัยโรมันซึ่งมีการต้มรากชะเอม เพื่อบรรเทาอาการไอ หอบ เจ็บคอ โรคปอดอื่น ๆ และเชื่อว่ามันจะช่วยชะล้างภายในลำไส้ได้ นอกจากนี้ยังเหมาะกับผู้หญิงวัยทองเนื่องจากมันมีไฟโตเอสโตรเจนด้วย อย่างไรก็ตามการกินรากชะเอมมาก ๆ ก็อาจทำให้เป็นโรคความดันโลหิตสูงไม่ควรกินพร้อมกับยาขับปัสสาวะ เช่นเดียวกับที่คนเป็นโรคเบาหวานกับโรคตับควรจะหลีกเลี่ยงรากชะเอมเหมือนกัน
10. เฉาก๊วย
ด้วยเหตุที่มันดำ แวววาว และเด้งดึ๋ง เป็นที่สุด คนส่วนใหญ่จึงไม่ค่อยนึกถึงเฉาก๊วยในแง่ของสมุนไพรหรืออาหารเพื่อสุขภาพ เฉาก๊วยมีชื่อภาษาอังกฤษว่า Black Jelly หรือ Grass Jelly ซึ่งตัวมันเองเป็นอาหารที่มีธาตุหยินหรือเป็นอาหารเย็นนั่นเอง ทำให้เหมาะจะกินในหน้าร้อนและบรรเทาอาการปวดท้อง คลื่นเหียน อาหารไม่ย่อย นอกจากนี้ยังมีใยอาหารชนิดละลายในน้ำ ซึ่งอาจจับเอาน้ำตาลและไขมันออกมาได้ มันจึงช่วยป้องกันเบาหวานและโรคหัวใจได้อีกทางหนึ่ง (ตราบใดที่คุณไม่ใส่น้ำเชื่อมเยอะมากเกินไปละก็นะ)

ขอขอบคุณข้อมูลจาก lisa ขอขอบคุณรูปภาพจากอินเตอร์เน็ต

การฝังเข็ม ..ว่าด้วยเข็ม

คนที่เคยเห็นเข็มสำหรับฝังเข็มมาแล้ว อาจรู้สึกว่าเป็นเข็มเล็ก ๆ ธรรมดาไม่น่าจะมีฤทธิ์รักษาโรคอะไรได้เลย แต่สำหรับผู้ป่วยที่เคยตระเวนหาหมอรักษาไปทั่ว แล้วกลับหายจากโรคได้ด้วยการฝังเข็ม จะรู้สึกว่ามันเหมือนกับเป็นเข็มวิเศษ แน่นอน มันย่อมมิใช่เข็มที่วิเศษจริง ๆ แต่ก็มิใช่เป็นเข็มที่ธรรมดาเสียทีเดียวนัก ความจริงแล้วมันมีวิวัฒนาการความเป็นมาที่ยาวนาน และแฝงด้วยความหมายที่หลายคนอาจจะคาดไม่ถึง การทำความรู้จักเกี่ยวกับเข็มจะช่วยให้เราเข้าใจเวชกรรมฝังเข็มได้มากยิ่ง ขึ้น
             สมัยบุรพกาล บรรพบุรุษของชาวจีนได้รู้จักกดนวดตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เพื่อช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดหรืออาการไม่สบายต่าง ๆ ต่อมาในยุคหิน พวกเขาก็รู้จักใช้เศษินมาทำเป็นเครื่องมือสำหรับกดนวดหรือแทงหรือกรีดระบาย หนอง..
            ในยุคหินใหม่เมื่อราว ๆ 4,000 กว่าปีก่อน พวกเขาได้รู้จักเทคนิคฝนขัดหินได้อย่างช่ำชองและละเอียดปราณีตมากขึ้น จนสามารถฝนเศษหินให้เล็กลงและแหลมคมขึ้น ทำให้ประสิทธิภาพการรักษาโรคดีขึ้นด้วย
ในประเทศจีนมีการขุดค้นทาง โบราณคดีหลายแห่ง สามารถพบเครื่องหินที่ใช้สำหรับรักษาโรคอยู่เป็นจำนวนมากมาย มีลักษณะตรงกับคำจารึกในพงสาวดานโบราณที่เรียกว่า เปียนเสือ (Bian stone) ซึ่งหมายถึงเข็มที่ทำจากหิน
            เข็ม หินในยุคแรกนั้นไม่เพียงแต่ใช้ทิ่มแทงเท่านั้น แต่ยังมีประโยชน์ใช้สำหรับกดนวดและกรีดระบายหนองอีกด้วย รูปร่างของมันตึงมีทั้งเป็นวัตถุแหลม, วัตถุแบนคมเหมือนมีดและวัตถุกลมเหมือนถ้วย เป็นต้น หินเหล่านี้ถือเป็น “สมบัติล้ำค่า” อย่างหนึ่งเลยทีเดียว
            นอก จากหินแล้ว บรรพบุรุษขาวจีนในกลุ่มแม่น้ำฮวงโหยังรู้จักใช้วัสดุอื่น ๆ มาประดิษฐ์เป็นเข็มอีกด้วย เช่น กิ่งไม้ กระดูก เครื่องเคลือบดินเผา
             ตั้งแต่ในยุคราชวงศ์ชางเมื่อประมาณ 2,400 ปีก่อน สังคมจีนได้พัฒนาเข้าสู่ยุคโลหะ ชาวจีนโบราณได้เรียนรู้เทคนิคการหล่อหลอมโลหะจึงเริ่มปรากฏมีเข็มที่ทำมาจาก โลหะชนิดต่าง ๆ อันได้แก่ เข็มสำริด เข็มเหล็ก เข็มทองคำ และเข็มเงินเกิดขึ้นมาเป็นลำดับ
             จากคัมภีร์อายุรเวทของกษัตริย์หวงตี้หรือ “หวงตี้เน่ยจิง” ซึ่งมีอายุยาวนานราว 2,200 ปีนั้นได้ทำให้เราทราบว่า ในยุคสงครามระหว่างแคว้นชาวจีนโบราณสามารถประดิษฐ์เข็มโลหะที่มีรูปร่างต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการใช้ได้ถึง 9 ชนิด ดังต่อไปนี้

ภาพวาดเข็มบราณทั้ง 3 ในสมัยราชวงศ์หมิง
1. เข็มหัวลูกศร ใช้แทงผิวหนังตื้น ๆ เพื่อเจาะระบบเลือด
2. เข็มปลายมน ใช้เป็นเครื่องมือสำหรับกดนวด
3. เข็มปลายทู่ ใช้สำหรับกดเส้นลมปราณ
4. เข็มปลายแหลมขอบเหลี่ยม ใช้แทงเพื่อเจาะระบายเลือด
5. เข็มกระบี่ ใช้สำหรับกรีดหนอง
6. เข็มปลายแหลมขอบมน ใช้สำหรับแทงรักษาอาการปวดที่อยู่ลึก
7. เข็มเส้นขน ใช้ปรับการไหลเวียนลมปราณรักษาอาการปวดต่าง ๆ
8. เข็มยาว ใช้ปักรักษาพยาธิสภาพที่อยู่ส่วนลึก ๆ ของร่างกาย
9. เข็มใหญ่ ใช้เจาะน้ำในข้อ
             อย่าง ไรก็ตาม กระทั่งถึงทุกวันนี้ นักโบราณคดีของจีนก็ยังไม่สามารถขุดค้นพบเข็ม 9 ชนิดที่เป็นวัตถุโบราณจริง ๆ ได้เลย เข็มทองคำที่ขุดได้จากสุสานฝังศพเจ้าชายหลิวเซิ่งแห่งราชวงศ์ซีฮั่น ที่มณฑลเหอเป่ย เมื่อ ปี ค.ศ.1968 นั้น ก็มิได้มีรูปร่างตรงกับคำบรรยายในคัมภีร์หวงตี้เน่ยจิง
              รูป ร่างของเข็มโบราณทั้ง 9 จึงเป็นแต่รูปภาพที่แพทย์รุ่นต่อ ๆ มาจินตนาการและวาดออกมาเท่านั้นเอง ซึ่งมีอยู่หลายแบบตามแต่ละยุคสมัยของผู้วาด
               ด้วยเหตุนี้ในปี ค.ศ.1986 สถาบันวิจัยการแพทย์แผนโบราณจีนพร้อมทั้งสถาบันวิจัยเอกสารประวัติศาสตร์ และโรงงานผลิตอุปกรณ์การแพทย์แห่งมณฑลซูโจว จึงได้ร่วมมือกันจำลองสร้างเข็ม 9 ชนิดขึ้นมาใหม่โดยอาศัยหลักฐานทางโบราณคดีต่าง ๆ มาประกอบ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่จะสืบทอดมรดกทางประวัติศาสตร์มิให้มีการสูญหายไป
               เมื่อการแพทย์แผนตะวันตกได้เผยแพร่ไปทั่วไป เข็มบางชนิดก็เสื่อมความนิยมลงและไม่ได้ใช้อีกต่อไป เพราะมีอุปกรณ์อย่างอื่นที่ดีกว่ามาทดแทนเช่น ใช้มีดผ่าตัดมากรีดระบายหนองแทนการใช้เข็มกรีดเจาะ เป็นต้น
              ปัจจุบัน นี้เข็มที่ยังนิยมใช้กันเป็นประจำได้แก่ เข็มเส้นขน เข็มฝังคา ในผิวหนังหรือใต้ผิวหนัง เข็มดอกเหมยหรือเข็มเคาะผิวหนัง และเข็มสามเหลี่ยมสำหรับเจาะปล่อยเลือด เป็นต้น
               อย่างไรก็ตาม ยังมีการพัฒนาสร้างเข็มรูปแบบใหม่ ๆ ขึ้นมาอีกเรื่อย ๆ เช่น เข็มที่ทำมาจากแม่เหล็ก เข็มเลาะผังพืด หรือใช้แสงเลเซอร์มากระตุ้นจุดแทนการปักเข็มเป็นต้น ซึ่งยังต้องการข้อมูลการศึกษาวิจัยอีกมาก เพื่อมายืนยันว่า จะใช้ได้ผลในการรักษาจริงหรือไม่
               เข็มที่นิยมใช้มากที่สุดคือ “เข็มเส้นขน (Filiform needle)”
               ที่เรียกว่าเข็มเส้นขนนั้น เนื่องจากมันมีลักษณะเป็นเส้นโลหะขนาดเล็กมาเหมือนกับ “เส้นขน” นั่นเอง เมื่อปักลงไปตามร่างกาย จะทำให้ผิวหนังและเนื้อเยื่อได้รับการบาดเจ็บน้อยมาก สามารถปักได้ลึกและปักได้และทุกตำแหน่งทั่วร่างกาย จึงมีประโยชน์ใช้รักษาโรคได้กว้างขวาง
              แพทย์ ฝังเข็มทุกคนจะต้องรู้จักการใช้เข็มชนิดนี้ โดยทั่วไปแล้วถ้าไม่มีการระบุเป็นอย่างอื่น เมื่อกล่าวถึง “เข็ม” ในทางเวชกรรมฝังเข็มแล้วก็จะหมายถึงเข็มชนิดนี้เป็นลำดับสำคัญเสมอ
              รูป ร่างของเข็มที่ใช้สำหรับฝังเข็มนั้นจะไม่ต่างไปจากเข็มฉีดยาทั่ว ๆ ไป เข็มสำหรับฝังเข็มจะมีส่วนประกอบอยู่ 5 ส่วน คือ ปลายเข็ม ตัวเข็ม โคนเข็ม ด้ามเข็มและหางเข็ม ตามลำดับ
               ด้ามเข็มมักจะมีลวดเล็ก ๆ พันเป็นเกลียวอีกชั้นหนึ่ง เพื่อช่วยให้จับได้สะดวกและกระชับนิ้วมือไม่ให้ลื่น เข็มบางยี่ห้อที่ใช้แบบครั้งเดียวทิ้ง อาจใช้พลาสติกหลอมเป็นด้ามเข็มแทนเพื่อประหยัดต้นทุนผลิต
 โครงสร้างของเข็มเส้นขน
              ส่วนปลายสุดของด้ามเข็ม ซึ่งเรียกว่า “หางเข็ม” นั้น มีประโยชน์สำหรับใช้ติดสมุนไพรรมยาประกอบการรักษา และเป็นเครื่องหมายช่วยบอกทิศทางการหมุนเข็มว่า หมุนทวนหรือตามเข็มนาฬิกา
               ชนิดของโลหะที่เอามาใช้ทำเข็มนั้น ก็มีความสำคัญมากเช่นกัน ขึ้นกับว่าความก้าวหน้าทางด้านโลหะศาสตร์ในแต่ละยุคนั้นเป็นอย่างไร สังคมยุคนั้นมีความสามารถในการหล่อหลอมโลหะได้ดีแค่ไหน ในสมัยโบราณจึงปรากฏหลักฐานของเข็มที่ทำจากโลหะหลายชนิดด้วยกัน เช่น สำริด ทองแดง ทองคำ เงิน เหล็ก เป็นต้น
               เข็มที่ทำจากเหล็กเมื่อใช้ไปนาน ๆ จะเกิดสนิม จึงเปราะหักได้ง่าย เข็มที่ทำด้วยทองคำมีข้อด้อย คือ เนื้อโลหะค่อนข้างอ่อนและมีราคาแพง ส่วนเข็มเงินนั้น เนื้อเข็มจะเกิดปฏิกิริยาเคมีกับออกซิเจนในอากาศ ทำให้เปลี่ยนเป็นสีดำได้ง่าย และโลหะเงินก็มีราคาแพงเช่นกัน
เข็มฝังเข็ม ที่ใช้กันในปัจจุบัน นิยมทำด้วยโลหะเหล็กกล้าสแตนแลส เพราะมีข้อดีหลายอย่าง คือ เนื้อโลหะแข็งพอเหมาะจึงมีความยืดหยุ่นและเหนียวไม่เปราะหักง่าย ไม่ขึ้นสนิม ไม่ทำปฏิกิริยาอันตรายหรือเป็นพิษต่อเนื้อเยื่อของร่างกาย ทนทานต่อสารเคมีและความร้อนได้ดี จึงสะดวกในการทำความสะอาด และราคาก็ไม่แพงจนเกินไป
               ผู้ป่วยมักสงสัยว่า ในเข็มนั้นใส่ยาหรือสมุนไพรอะไรเอาไว้หรือไม่ ความจิรงแล้ว เข็มที่ใช้ฝังเข็มนั้นเป็นโลหะเนื้อตัน ไม่มีการใส่หรือชุบน้ำยาอะไรทั้งสิ้น ผลการรักษาโรคอยู่ที่การปักและวิธีการกระตุ้นเข็มเป็นสำคัญ
               เมื่อเปรียบเทียบกับเข็มฉีดยา เข็มที่ใช้ฝังเข็มจะมีขนาดเล็กกว่ามาก ตัวอย่างเช่น เข็มฉีดยาสำหรับเด็กเล็กเบอร์ 25 มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5 มิลลิเมตร เข็มฉีดยาสำหรับผู้หใญ่เบอร์ 23 มีเส้นผ่าศูนย์กลางเพียง 0.28 มิลลิเมตร เท่านั้นเอง ซึ่งเล้กกว่าเข็มฉีดยาเด็กถึงเกือบครึ่ง
             ข้อแตกต่างระหว่างเข็มฉีดยาและเข็มที่ใช้สำหรับฝังเข็มที่สำคัญมากกว่าก็คือว่า
                เข็มฉีดยามีลักษณะเป็นโลหะท่อกลวง ปลายแหลมบากตัดคล้ายขวากไม้ไผ่ในหลุมดักสัตว์ ส่วนเข็มที่ใช้สำหรับฝังเข็มเป็นเส้นลวดเนื้อตัน มีปลายแหลมมนหรือเปลี่ยมตัด เมื่อปักเข็มลงในเนื้อเยื่อ เข็มฉีดยาจะ “บาดตัด” ทำอันตรายต่อผิวหนังและเนื้อเยื่อมากกว่าเข็มสำหรับฝังเข็มที่จะเป็นลักษณะ “แทงแหวกผ่าน” ผิวหนังและเนื้อเยื่อลงไป ดังนั้นเมื่อถอนเข็มฉีดยาขึ้นมา ผิวหนังและเนื้อเยื่อจะถูกทำลายขาดรุ่งริ่งมากกว่า ผู้ป่วยที่ถูกฉีดยาจึงรูสึกเจ็บมากกว่าการถูกฝังเข็มเสียอีก

เข็มฉีดยาจะทำลายเนื้อเยื่อของร่งกายมากกว่าเข็มฝังเข็ม

               จาก ความรู้ทางการแพทย์ เราทราบแล้วว่า กลไกอย่างหนึ่งที่ทำให้การฝังเข็มสามารถรักษาโรคได้นั้นก็คือ เข็มสามารถกระตุ้นตัวรับสัญญาณประสาท (receptor) ทำให้เส้นประสาททำงาน กล้ามเนื้อที่หดเกร็งมีการคลายตัว และทำให้หลอดเลือดขนายตัว เพิ่มการไหลเวียนของเลือดได้ดีขึ้น ตัวรับสัญญาณประสาทเหล่านี้มักจะอยู่ใต้ผิวหนังชั้นลึก อุปกรณ์ที่จะสามารถกระตุ้นตัวรับสัญญาณประสาทนี้ได้ จะต้องสามารถสอดใส่หรือปักแทงให้ลึกไปในร่างกายได้โดยไม่เกิดอันตราย
                การกดนวด การใช้คลื่นความถี่สูง เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าที่มีขั้วเป็นแบบแผ่นโลหะ การประคบร้อนประคบเย็น ไม่สามารถสร้างแรงกระตุ้นที่ลงไปในชั้นลึกได้เพียงพอสำหรับการรักษา
                ส่วนเข็มฉีดยานั้นก็ไม่เหมาะสมที่จะใช้เพราะว่า หากปักลงไปลึก จะทำอันตรายต่อเนื้อเยื่ออวัยวะได้
               เข็ม สำหรับการฝังเข็มที่มีลักษณะเป็นเส้นเล็ก ๆ และยาวเพียงพอจึงมีความเหมาะสมมากกว่าอุปกรณ์ชนิดอื่น ๆ ในการที่จะปักลงไปลึก ๆ เพื่อกระตุ้นตัวรับสัญญาณประสาทให้ได้
                ในคัมภีร์อายุรเวทของกษัตริย์หวงตี้บันทึกเอาไว้ว่า เข็มเส้นขนมีปลายแหลมเล็กเท่า “ปากยุง” ซึ่งเป็นเบาะแสหลักฐานที่บ่งบอกให้เรารู้ว่าเมื่อ 2,000 กว่าปีก่อนนั้น อารยธรรมของชาวจีนโบราณต้องสูงมาก กระทั่งสามารถรีดหรือหล่อโลหะให้กลายเป็นเส้นลวดที่เล็กเท่า “ปากยุง” สำหรับปักลึกเข้าไปในร่างกายของคนเราได้ โดยไม่มีอันตรายร้ายแรงเกิดขึ้น
                กฎเกณฑ์ธรรมชาติของร่างกายมนุษย์เราที่ว่า เมื่อทำการกระตุ้นตำแหน่งต่าง ๆ ของร่างกายสามารถจะบำบัดอาการไม่สบายหรือโรคนั้นได้ ความจริงแล้ว ชนชาติอื่น ๆ นอกจากชาวจีนก็รู้จักกฎเกณฑ์ข้อนี้เหมือนกัน ดังจะเห็นตัวอย่างว่าการนวด การใช้ไฟจี้ หรือการใช้วัตถุแหลมแทงเพื่อกระตุ้นร่างกายนั้น ก็พบได้ในแถบทุกชนชาติ
                แต่ภูมิปัญญาของประชาชาติจีนโบราณอยู่ที่ว่า
               ประการที่ 1 ชาว จีนได้ค้นพบวิธีการกระตุ้น ส่วนลึกของร่างกายโดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายและพัฒนาความรู้เป็นทฤษฎีที่สอด คล้องกับกฎเกณฑ์ทางธรรมชาติที่เป็นจริงออกมาได้
               ประการที่ 2 มีระดับเทคโนโลยีการผลิตที่สูงเพียงพอจนสามารถสร้างอุปกรณ์มาใช้กระตุ้นร่างกายตามวิธีการดังกล่าวได้
                เมื่อเพียบพร้อมด้วยเงื่อนไขทั้ง 2 ประการดังกล่าวข้างต้น ชาวจีนโบราณจึงสามารถประดิษฐ์เข็มชนิดต่าง ๆ ออกมาได้
               และนี่เป็นเหตุผลที่ทำให้จีนเป็นชนชาติแรกที่ทำให้กำเนอศาสตร์เวชกรรมฝังเข็มขึ้นมาได้ในโลกนั่นเอง

วิวัฒนาการตำราการแพทย์แผนโบราณ

ในสมัยก่อน ชาวจีน อาศัยวิชาการแพทย์แผนโบราณเป็นระบบการแพทย์หลักของสังคม วิธีการรักษาโรคที่เป็นหลัก ได้แก่ การฝังเข็มและการใช้ยาสมุนไพร
          ใน คัมภีร์หวงตี้เน่ยจริงที่เก่าแก่ เมื่อ 2,000 กว่าปีก่อน มีการกล่าวบรรยายึถงโรคชนิดต่าง ๆ 100 กว่าโรค แต่ระบุให้ใช้ยารักษาเพียง 13 โรคเท่านั้นที่เหลือทั้งหมดนั้นแนะนำให้ใช้การฝังเข็มรักษาทั้งสิ้น จะเห็นได้ว่า การฝังเข็มมีประโยชน์ในการรักษากว้างมากกว่าการใช้ยาสมุนไพรเสียอีก
          ดัง นั้น ตามแนวการวิเคราะห์โรคของการแพทย์แผนโบราณจีน คำถามที่ว่า "การฝังเข็มรักษาโรคอะไรได้บ้าง "จึงไม่ใช่เป็นประเด็นที่ต้องถามเพราะโรคทุกอย่างต้องใช้การฝังเข็มรักษา ทั้งสิ้น ยกเว้นแต่มีข้อห้ามเท่านั้น

         ในตำราการแพทย์แผนโบราณของจีน ได้บันทึกวิธีการฝังเข็มรักษาโรคต่าง ๆ เอาไว้เป็นจำนวนมากครอบคลุมทุกแขนงของโรค ไม่ว่าจะเป็นอายุรกรรม ศัลยกรรม สูตินารีเวช กุมารเวช และโรคหูตาคอจมูก เป็นต้น สามารถใช้รักษาโรคได้ทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่ทารกจนถึงคนชรา สตรีตั้งครรภ์หรือไม่ตั้งครรภ์ โรคฉุกเฉินเฉียบพลันหรือโรคเรื้อรัง ก็สามารถฝังเข็มรักษาได้ทั้งสิ้น           ต่อมาภายหลัง เมื่ออารยธรรมตะวันตกได้แผ่ขนายเข้าสู่ประเทศจีน ระบบการแพทย์แผนตะวันตกก็ได้รับความนิยมมากขึ้น จนกลายเป็นระบบการแพทย์หลักของประเทศอย่างเต็มตัว
          เมื่อจีน เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบคักดินาของราชวงศ์แมนจูมาเป็นระบอบสาธารณรัฐ วิธีการรักษาโรคต่าง ๆ จึงกลายมาเป็นแบบแผนปัจจุบัน ส่วนการฝังเข็มก็ค่อย ๆ เสื่อมความนิยมลงไป
          จนกระทั่ง หลังจากมีการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี ค.ศ. 1949 การฝังเข็มจึงได้รับการฟื้นฟู เพื่อเอามาใช้รักษาโรคใหม่อีกครั้งหนึ่ง
          คำถามจึงเกิดขึ้นว่า "การฝังเข็มยังสามารถเอามาใช้รักษาโรคได้ ผลเหมือนกับวิธีการรักษาตามการแพทญ์แผนตะวันตกหรือไม่ ? "
          คน ทั่วไปมักจะเข้าใจกันว่า การฝังเข็มเป็นวิธีการบำบัดความเจ็บปวดอย่างหนึ่งเท่านั้น ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าในช่วงทศวรรษปี 1970 ที่จีน ได้เปิดประเทศติดต่อกับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก นั้น ข่าวสารเกี่ยวกับการฝังเข็มที่ทำให้ชาวโลกรู้สึกตื่นเต้นมากที่สุดก็คือ การฝังเข็มระงับความเจ็บปวดให้แก่ผู้ป่วยที่ถูกผ่าตัดโดยไม่ต้องใช้ยาชาหรือ ยาสลบ นอกจากนี้ กาค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับการฝังเข็มของประเทศทางตะวันตกในระยะแรก ๆ ก็มุ่งไปยังเรื่อง "การระงับความเจ็บปวด" เป็นเสียส่วนมาก
          ความ จริงแล้ว เมื่อจีนได้เริ่มพัฒนาวิชาฝังเข็มโบราณขึ้นมาใหม่นั้น ตั้งแต่ในปี ค.ศ. 1950 เป็นต้นมา ก็ได้มีการค้นคว้าทดลองฝังเข็มรักษาอาการผิดปกติและโรคต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก โดยมิได้จำกัดอยู่แต่เฉพาะเรื่องการฝังเข็มระงับความเจ็บปวดเท่านั้น แต่อย่างไรเลย
          จากการรวบรวมข้อมูลที่ยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ โจวตี้เซียง พบว่า นับตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1959 ถึง ค.ศ. 1985 ในประเทศจีนมีการวิจัยทดลองฝังเข็มรักษาโรคต่าง ๆ นับเป็นจำนวนมากถึง 1,116 โรค เมื่อจัดเป็นหมวดหมู่แล้วพบว่า การฝังเข็มสามารถใช้รักษาโรคที่พบได้บ่อยประมาณ 158 ชนิด
          ถ้า อิงตามมาตรฐานหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิตของประเทศจีน ในปัจจุบันแล้ว ในตำราวิชา "ฝังเข็มรมยา" ที่เป็นตำรามาตรฐานสำหรับมหาวิทยาลัยการแพทย์แผนโบราณทั่วทั้งประเทศฉบับ พิมพ์ ปี ค.ศ. 1995 ระบุรายชื่ออาการและโรคต่าง ๆ ที่สามารถใช้ฝังเข็มรักษาได้ 6 หมวด อันได้แก่ โรคทางอายุรกรรม ศัลยกรรม สูตินารีเวช กุมารเวช หูตาคอจมูก และภาวะฉุกเฉิน รวมจำนวนทั้งสิ้น 75 โรค (รายละเอียดตารางที่ 1)
          แน่นอน รายชื่อโรคและอาการจำนวน 75 อย่างนี้ คงถือเป็นเพียงเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำสำหรับนักศึกษาแพทย์เท่านั้นเอง หากกล่าวในเชิงงานค้นคว้าวิจัยแล้ว จำนวนโรคที่มีการทดลองฝังเข็มรักษาได้ผลนั้นมีมากเกินกว่านี้อีกมากทีเดียว
          เฉิน ฮั่นผิง แพทย์ฝังเข็มอาวุโสที่มีชื่อเสียงคนหนนึ่งของจีนในขณะนี้ และคณะผู้ร่วมงานประจำสถาบันวิจัยการฝังเข็มรมยาและเส้นลมปราณแห่งกรุง เซี่ยงไฮ้ ได้รวบรวมงานวิจัยเกี่ยวกับเวชกรรมฝังเข็มของจีนจำนวน 1,550 ชิ้น ตีพิมพ์เป็นนหังสืรายงานสรุปความก้าวหน้าของการค้นคว้าเกี่ยวกับการฝังเข็ม รักษาโรคต่าง ๆ ของจีนใระหว่างปี ค.ศ. 1991-1995 ออกมา ช่วยทำให้เรามองเห็นขอบเขตการรักษาโรคด้วยการฝังเข็มที่สำคัญของจีนในยุค ปัจจุบันนี้ได้ชัดเจนใรระดับหนึ่งว่า การฝังเข็มใช้รักษาโรคอะไรได้บ้าง (รายละเอียด ตารางที่ 2)
          นอกจากนี้แล้ว บรรดาประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกก็ได้นำเอาการฝังเข็มไปทดลองรักษาโรคต่าง ๆ เป็นจำนวนมากเช่นกัน เพื่อพิสูจน์ว่าการฝังเข็มมีประโยชน์ในการรักษาโรคตามคำอ้างของจีนจริงหรือ ไม่
          ศูนย์ฝังเข็มกรุงวอชิงตัน (Washington Acupuncture Center) แห่งสหรัฐอเมริกา ได้รวบรวมผลการทดลองฝังเข็มรักษาความผิดปกติต่าง ๆ 21 โรคในผู้ป่วยจำนวน 11,982 ราย ในช่วงตั้งแต่เดือนเมษายน ปี ค.ศ. 1976 รวมเป็นเวลา 3 ปี ซึ่งแม้ว่าข้อมูลการศึกษาครั้งนี้จะไม่สมบูรณ์ตามวิธีการวิจัยทางวิทยา ศาสตร์ แต่ก็เป็นข้อมูลที่มีขนาดใหญ่มากที่พอจะทำให้เห็นว่า การฝังเข็มนั้นสามารถรักษาโรคต่าง ๆ ได้ผลดี อย่างไม่น่าเชื่อเลยทีเดียว (รายละเอียด ตารางที่ 3)
          ในปี ค.ศ 1979 องค์อนามัยโลกแห่งสหประชาชาติ หรือ WHO (World Health Organization) ได้ตั้งคณะกรรมการศึกษาประโยชน์ของการฝังเข็มในการรักษาโรคต่าง ๆ ว่า มีความเป็นไปได้อย่างไรบ้าง จากการพิจารณข้อมูลทางคลินิก องค์การอนามัยโลกจึงได้ประกาศรายชื่ออาการหรือโรคต่าง ๆ ที่สามารถฝังเข็มรักษาได้ผลจำนวน 40 โรค (รายละเอียดตารางที่ 4) เป็นการแสดงให้เห็นว่า ถึงแม้การฝังเข็มจะมีกำเนิดจากการแพทย์แผนโบราณก็ตาม แต่ก็สามารถใช้รักษาโรคต่าง ๆ ได้ผลจริง
          แต่ว่า การที่ผู้ป่วยคนหนึ่ง ๆ หายจากโรคได้นั้น อาจเป็นเพราะว่าดรคนั้นสามารถทุเลาหายไปได้เองหรือมัอาจเป็นผลจากการรักษาก็ ได้ และเหตุที่ทำให้วิธีการนั้นสามารถรักษาโรคให้หายได้ ยังอาจมีปัจจัยอื่น ๆ มาประกอบร่วมด้วย การประเมินผลการรักษาของวิธีการรักษาหนึ่ง ๆ จึงต้องมีกระบวนการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้องมาตัดสิน
          การวิจัยเพื่อประเมินผลการรักษาที่เป็นที่ยอมรับกันมากที่สุดในวงการวิทยาศาสตร์การแพทย์นั้นก็คือ "การทดลองที่มีกลุ่มเปรียบเทียบ" หรือที่เรียกว่า controlled study ซึ่งมีการเปรียบเทียบว่า เมื่อใช้วิธีการรักษาอย่างหนึ่งรักษาผู้ป่วยกลุ่มหนึ่ง ผลการรักษาที่ออกมาจะดีกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ไม่ได้ใช้วิธีการนั้นหรือไม่ ถ้าผลการรักษาปรากฏออกมาว่า มีความแตกต่างกัน ก็แสดงว่าวิธีการรักษาดรคนั้นได้ผลรักษาจริง ถือว่า "น่าเชื่อถือ" การวิจัยแบบนี้มีขั้นตอนการทำวิจัยที่ยุ่งยาก ซับซ้อนพอสมควร มักต้องอาศัยทุนการวิจัยและใช้เวลาค่อนข้างมาก มิใช่เป็นเรื่องที่จะทำกันได้ง่าย ๆ
          การทดลองที่มีกลุ่มเปรียบเทียบนี้ อาจแบ่งย่อยออกเป็นอีก 2 แบบ คือ แบบที่มีการคัดเลือกตัวอย่างทดลอง โดยสุ่มเลือกอย่างไม่มีการเจาะจง (randomized sampling) ซึ่งถือว่าเป็นวิธีการวิจัยที่น่าเชื่อถือมากที่สุด ส่วนอีกแบบหนึ่งนั้น การคัดเลือกตัวอย่าง ไม่ได้ทำแบบสุ่มเลือก (non-randomized sampling) ซึ่งผลความน่าเชื่อถือจะเป็นรองกว่าแบบแรก

การฝังเข็มรักษาโรคอะไรได้บ้าง ?

ขอบพระคุณ ข้อมูลจาก : สมาคมแพทย์ฝังเข็มและสมุนไพร

การฝังเข็มไม่เพียงแต่ จะช่วยทำให้หลอดเลือดบริเวณที่ปักเข็มขยายตัวเท่านั้น แต่หลอดเลือดฝอยทั่วร่างกายก็จะมีการขยายตัวอย่างเหมาะสมอีกด้วย ทำให้เนื้อเยื่อทั่งร่างกายได้รับสารอาหารและขจัดของเสียที่คั่งค้างได้ดี กว่า

           การฝังเข็มยังสามารถออกฤทธิ์กระตุ้นเพื่อปรับการทำ งานของอวัยวะอื่น ๆ ที่อยู่ห่างไกลออกไปจากจุดฝังเข็มได้อีกด้วย ตัวอย่างเช่น

           เมื่อปักเข็มกระตุ้นจุด "เน่ยกวาน" บนเส้นลมปราณเยื่อหัวหัวใจที่อยู่บริเวณข้อมือ สามารถปรับการเต้นของหัวใจที่ผิดจังหวะ สามารถทำให้หลอดเลือดหัวใจขยายตัวได้
           เมื่อปักเข็มกระตุ้นจุด "จู๋ซานหลี่" ของเส้นลมปราณกระเพาะอาการที่อยู่บริเวณหน้าแข็ง สามารถกระตุ้นทำให้กระเพาะอาการที่หดเกร็ง มีการคลายตัวและบีบตัวเป็นจังหวะดีขึ้น สามารถปรับการหลั่งของกรดในผู้ป่วยที่มีภาวะกรดกระเพาะอาการมากเกินไป ให้ลดน้อยลงสู่สภาพปกติได้
           เมื่อใช้การรมยากระตุ้นจุด "จื้อยิน" ที่บริเวณนิ้วก้อยของเท้า พบว่า สามารถกระตุ้นกล้ามเนื้อมดลูกของสตรีที่ตั้งครรภ์ ให้หดตัวเป็นจังหวะสม่ำเสมอ ทำให้ทารกในครรภ์มีการหมุนเคลื่อนตัว จึงสามารถใช้วิธีการนี้มารักษาภาวะทารกในครรภ์อยู่ผิดท่าได้

           ตัวอย่าง เหล่านี้ เป็นเรื่องที่เหลือเชื่อ สำหรับการแพทย์แผนปัจจุบัน เพราะไม่สามารถอธิบายกลไกการเกิดปรากฏการณ์เหล่านี้ได้จากความรู้ทางการ แพทย์ที่มีอยู่แต่เดิม อย่างไรก็ตาม ความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์ระบบประสาทและการค้นคว้าในด้านการฝังเข็มพบว่า
           การ กระตุ้นเส้นประสาทส่วนปลาย (peripheral nerve) ด้วยการฝังเข็ม สามารถก่อให้เกิดสัญญาณประสาทเข้าสู่ก้านสมองและสมอง และมีทางเดินประสาท (pathway) เชื่อมโยงไปยังศูนย์เซลประสาท (neuron center) ซึ่งส่วนใหญ่จะกระจายอยู่บริเวณก้านสมองและฮัยโปธาลามัส แล้วมีสัญญาณประสาทส่งกลับไปควบคุมการทำงานของอวัยวะระบบต่าง ๆ โดยผ่านระบบประสาทอัตโนมัติที่ไปยังอวัยวะนั้น ๆ

           การฝัง เข็มยังสามารถกระตุ้นสมอง ให้มีการหลั่งสารสื่อสัญญาณประสาท (neurotransmitters) ออกมาหลายชนิด ที่สำคัญคือ เอนดอร์ฟิน (ndorphins) สารตัวนี้มีฤทธิ์ระงับปวดที่แรงมาก ประมาณว่ามันแรงมากกว่ายามอร์ฟีนถึง 1,000 เท่า การฝังเข็มจึงมีฤทธิ์ในการลดความเจ็บปวดให้แก่ร่างกายได้อีกด้วย
           นอก จากนี้ การฝังเข็มยังสามารถกระตุ้นให้ร่างกายมีการหลั่งสารฮอร์โมนที่สำคัญออกมา ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ ACTH และฮอร์โมนคอร์ติโคสเตียรอยด์ ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มีฤทธิ์กว้างขวางมาก เช่น การลดการอักเสบของเนื้อเยื่อ กระตุ้นการปลดปล่อยพลังงานภายในร่างกาย เป็นต้น
           ฤทธิ์ในการปรับควบคุมการทำงานของอวัยวะระบบต่าง ๆ ด้วยการฝังเข็มนั้น มีลักาณะพิเศษที่เรียกว่า "ทวิภาพ" (Biphasic effect)
           หมาย ความว่า การฝังเข็ม ณ จุดเดียวกันสามารถปรากฏผลออกมาได้ 2 แบบ คือ อาจ "กระตุ้น" ให้อวัยวะทำงานเพิ่มขึ้น หรืออาจ "ยับยั้ง" ให้อวัยวะทำงานลดลงก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพวะของอวัวะหรือร่างกายของ ผู้ป่วยในขณะนั้นด้วย
           กล่าวคือ ถ้าอวัยวะหรือระบบนั้น ๆ อยู่ในสภาวะที่ทำงานน้อยเกินไป (hypofunction) การฝังเข็มจะออกฤทธิ์ "กระตุ้น" ให้มันทำงานเพิ่มขึ้นมาสู่ระดับปกติ (normofunction)
           ใน ทางตรงกันข้าม ถ้าวอวัยวะหรือระบบนั้น ๆ อยู่ในสภาวะที่ทำงานมากเกินไป (hyperfunction) การฝังเข็มกลับจะออกฤทธิ์ "ยับยั้ง" ทำให้มันทำงานลดน้อยลงไปสู่ระดับปกติ
           ตัวอย่างเช่น ถ้าหัวใจมีอัตราการเต้นเร็วกว่าปกติ เช่น เร็วเกินกว่า 100 ครั้งต่อนาที การฝังเข็มสามารถจะยับยั้งให้มันเต้นช้าลงมาอยู่ในเกณฑ์ปกติ คือ ประมาณ 60-100 ครั้งต่อนาที ตรงกันข้าม ถ้าหัวใจเต้นช้า เช่น น้อยกว่า 40 ครั้งต่อนาที เมื่อฝังเข็มก็จะสามารถกระตุ้นให้มันเต้นเร็วขึ้นมาอยู่ในเกณฑ์ปกติ
          อย่าง ไรก็ตาม ถ้าผู้ป่วยคนนั้นมีอัตราการเต้นหัวใจอยู่สภาพวะปกติอยู่แล้ว การฝังเข็มกระตุ้นมักจะไม่มีผลทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเปลี่ยนผิดปกติไป ได้
           นั่นหมายความว่า ถ้าปักเข็มในคนที่อยู่สภาวะปกติ มักจะไม่มีผลอะไรปรากฎออกมาอย่างชัดเจน เพราะว่าฤทธิ์ของการฝังเข็มในการปรับสมดุลการทำงานของอวัยวะหรือระบบต่าง ๆ จะเห็นได้ชัดเจนก็ต่อเมื่ออวัยวะหรือระบบนั้นมีความผิดปกติเสียสมดุลในการทำ งานไปแล้ว
           สมมุติว่า คน ๆ นั้นมีอัตราการเต้นหัวใจอยู่ในเกณฑ์ปกติประมาณ 70 ครั้งต่อนาที เมื่อฝังเข็มไปแล้ว จะไม่สามารถกระตุ้นทำให้หัวใจเต้นผิดปกติเร็วขึ้นเป็น 100 ครั้งต่อนาทีหรือช้าลงไปเป็น 30 ครั้งต่อนาทีได้เลย
           ต่างไปจากการใช้ "ยา" ยาจะมีฤทธิ์เพียงอย่างหนึ่งอย่างเดียว เท่านั้นคือ "กระตุ้น" หรือไม่ก็ "ยับยั้ง"
           ใน กรณีที่หัวใจเต้นช้า เราอาจฉีดยาอะโทรปิ่น (atropine) เพื่อกระตุ้นเร่งหัวใจให้เต้นเร็วขึ้นได้ ถ้าหัวใจเต้นเร็วอยู่แล้วหากเรายังฉีดยาอะโทรปิ่นให้แก่ผู้ป่วยเข้าไปอีก หัวใจก็จะยิ่งเต้นเร็วขึ้น จนอาจเกิดอันตรายให้แก่ผู้ป่วยได้ในที่สุด
           แต่ ถ้าฝังเข็ม ผลที่ปรากฏออกมาจะมี 2 แบบ เท่านั้นคือ หัวใจเต้นช้าลงมาสู่ปกติ หรือไม่ก็ยังคงเต้นเร็วอยู่เท่าเดิม การฝังเข็มจะไม่ทำให้หัวใจที่เต้นเร็วอยู่แล้ว ยิ่งเต้นเร็วขึ้นไปอีกอย่างเด็ดขาด
           การฝังเข็มจึงไม่มีอันตรายจากการใช้เกินขนาด (overdose) หรือการเกิดพิษ (intoxication) เหมือนเช่นกับการใช้ยา
           ใน ด้านระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายก็เช่นกัน การฝังเข็มมีฤทธิ์กระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันที่ต่ำกว่าปกติมีการทำงานเพิ่ม ขึ้น เช่น กระตุ้นให้เม็ดเลือดขาวกินสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคในร่างกายได้ดีขึ้น กระตุ้นให้มีการหลั่งสารแอนตี้บอดี้ (antibody) กระตุ้นการสร้างสารเคมีที่ควบคุมกลไกภูมิคุ้มกันให้เพิ่มมากขึ้น การฝังเข็มจึงสามารถเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของคนเราให้เข็มเข็งขึ้นได้
           ตรง กันข้าม ในผู้ป่วยที่มีระบบภูมิคุ้มกันทำงานมากเกินไป เช่น ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ชนิดต่าง ๆ การฝังเข็มจะช่วยยับยั้งปฏิกิริยาภูมิแพ้ที่เกิดขึ้นมากเกินไปให้ลดน้อยลง ได้
           ฤทธิ์ในการควบคุมระบบภูมิคุ้มกันของการฝังเข็มนี้ ส่วนหนึ่งมาจากบทบาทของเอนดอร์ฟีนที่ถูกกระตุ้นให้หลั่งออกมาด้วย การฝังเข็มนั่นเอง
           ตามทฤษฎีวิทยาศาสตร์การแพทย์สมัยใหม่ นั้น การฝังเข็มเป็นวิธีการกระตุ้นระบบประสาทอย่างหนึ่ง ที่สามารถปรับการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายที่เสียสมดุลผิดปกติไปให้กลับสู่สภาพปกติโดยผ่านทางระบบประสาท ซึ่งเรียกกระบวนการนี้ว่า "Neuromodulation"
           จากการค้นคว้าเกี่ยวกับกลไกการรักษาโรคด้วยการฝังเข็มในช่วง 50 ปีที่ผ่านมานี้ นักวิยาศาสตร์และแพทย์พบว่า
           เมื่อ ปักเข็มลงไปยังจุดหนึ่ง ๆ แล้วทำการกระตุ้นเข็ม จะเป็นการกระตุ้นตัวรับสัญญาณประสาท (receptor) ของปลายประสาทหลายชนิดที่กระจายอยู่ในแต่ละชั้นของเนื้อเยื่อ นับตั้งแต่ผิวนหนัง, เนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง, เยื่อหุ้มกล้ามเนื้อ (fascia) , กล้ามเนื้อ, เส้นประสาท, หลอดเลือด เป็นต้น ทำให้เกิดสัญญาณประสาทวิ่งผ่านเข้ามาในไขสันหลัง
           สัญญาณ ประสาทส่วนหนึ่ง จะย้อนออกไปจากไขสันหลังเกิดเป็นวงจรสะท้อนกลับ (reflex) ไปทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่ออวัยวะบริเวณใกล้เคียงที่ถูกเข็มปัก เช่น มีการขยายตัวของหลอดเลือด มีการคลายตัวของกล้ามเนื้อที่หดเกร็ง เป็นต้น
           สัญญาณประสาทอีกบางส่วน จะเคลื่อนที่ขึ้นไปตามไขสันหลังเข้าสู่สมองไปกระตุ้นศูนย์ควบคุมต่าง ๆ ในสมอง มีการหลั่ง "สารสื่อสัญญาณประสาท" (neurotransmitter) ต่าง ๆ ออกมาจากเซลล์ประสาทหลายชนิดพร้อมกับมีสัญญาณประสาทส่งย้อนลงมาจากสมองอีก ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ ระบบประสาทอัตโนมัติ (autonomic nervous system)
         สัญญาณประสาทที่ส่งออกมาพร้อมกับสารสื่อสัญญาณประสาทที่หลั่งออกมานั้น จะก่อให้เกิดผลต่าง ๆ ตามมาหลายอย่าง อาทิเช่น
           - ยับยั้งความรู้สึกเจ็บปวดที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายได้รับอันตราย
           - ปรับการทำงานของอวัยวะและระบบต่าง ๆ ที่เสียสมดุลไปให้กลับสู่สภาพสมดุลตามปกติ
           - ควบคุมการหลั่งฮอร์โมนหลายอย่างให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม เพื่อปรับให้อวัยวะต่าง ๆ ทำงานอย่างสมดุลเป็นปกติ
           - กระตุ้นปรับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้อยู่ในสภาพให้อยู่ในสภาพปกติ เพื่อ ขจัดสิ่งแปลกปลอม เชื้อโรค ยับยั้งปฏิกิริยาภูมิแพ้ไวเกิน ยับยั้งปฏิกิริยาการอักเสบ เป็นต้น โดยผ่านฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์ เป็นสำคัญ
           ฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์ หรือสเตียรอยด์ (steroids) นั้น เป็นสารที่มีฤทธิ์กระตุ้นร่างกายได้กว้างขวางมาก ยาเพรดนิโซโลนที่ใช้กันในทางการแพทย์ซึ่งถือเป็น " ยาสารพัดนึก" ที่ใช้รักษาโรคต่าง ๆ ได้มากมาย ก็เป็นสารที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันนี้ทั้งสิ้น
           ด้วยเหตุที่ การฝังเข็มสามารถกระตุ้นร่างกายให้มีการหลั่งฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์ได้ ประกอบกับการฝังเข็มก็สามารถกระตุ้นระบบต่าง ๆ ในร่างกายได้ทุกระบบ จึงไม่แปลกใจเลยที่ฤทธิ์การรักษาโรคด้วยการฝังเข็มจึงมีอยู่กว้างขวางมากมาย เช่นกัน


กลไกการรักษาโรคของการฝังเข็ม

           การ ผังเข็มจะกระตุ้นให้เกิดสัญญาณประสาท ส่งเข้าไปยังไขสันหลังแล้วออกวกออกมา ทำให้กล้ามเนื้อที่หดเกร็งเกิดการคลายตัว และหลอดเลือดที่หดตัวเกิดการขยายตัว สัญญาณประสาทบางส่วนจะถูกส่งขึ้นไปยังสมองกระตุ้นให้มีการหลั่งสารสื่อ สัญญาณประสาท เช่น เอนดอร์ฟินและฮอร์โมนต่าง ๆ แล้วส่งสัญญาณประสาทกลับลงมาตามไขสันหลังและเส้นประสาท เพื่อช่วยปรับการทำงานของอวัยวะระบบต่าง ๆ และระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้สมดุลเป็นปกติ
           จะ เห็นว่า กลไกในการรักษาโรคด้วยการฝังเข็มนั้น มิใช่เป็นกลไกที่ง่าย ๆ แต่ค่อนข้างสลับซับซ้อนและเกี่ยวข้องกับทุกระบบของร่างกาย
           โดย สรุปแล้ว จากข้อมูลทางวิทยาศาสตร์การแพทย์เท่าที่มีอยู่ในขณะนี้ การฝังเข็มสามารถรักษาโรคโดยอาศัยกลไกสำคัญ ดังต่อไปนี้
           1. ปรับการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ให้อยู่ในสภาพสมดุลปกติ
           2. ยับยั้งการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
           3. ปรับการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
           4. ทำให้กล้ามเนื้อที่หดเกร็งมีการคลายตัว
           5. กระตุ้นการไหลเวียนของเลือดทั้งบริเวณเฉพาะที่และทั่วร่างกาย
           อย่างไรก็ตาม การฝังเข็มมิใช่ "เข็มวิเศษ" ที่สามารถรักษาโรคได้ทุกโรค มันมีข้อจำกัดอยู่เหมือนกัน
           ถ้า เป็นโรคที่มีพยาธิสภาพของอวัยวะเสียหายรุนแรง เป็นเรื้อรังมานาน ผู้สูงอายุวัยชราที่อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายเสื่อมสภาพมาก ไม่ว่าจะฝังเข็มกระตุ้นอย่างไร ร่างกายก็อาจจะไม่ตอบสนอง การรักษาก็อาจจะไม่ได้ผลดีตามที่คาดคิดเอาไว้ก็ได้ ซึ่งตัวอย่างผู้ป่วยทำนองนี้ก็มีให้เห็นอยู่เสมอ
           50 ปีทีผ่านมานี้ ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ทำให้เราได้เข้าใจกลไกการรักษาโรคด้วย การฝังเข็มเป็นอย่างมากทีเดียว แต่เราก็ยังไม่ได้เข้าใจมันทั้งหมด
           สิ่ง ที่เรายังไม่เข้าใจหรือยังค้นหาคำตอบไม่ได้ ยังมีอีกมากเช่นกัน นั่นเป็นสิ่งที่รอให้เราไปค้นคว้าแสดงหาคำตอบ และเราก็จะเข้าใจกฎเกณฑ์วิทยาศาสตร์ของเวชกรรมวังเข็มมากยิ่งขึ้นไปอีกอย่าง แน่นอน

เตรียมตัวก่อนไปฝังเข็ม?

ขอบพระคุณ ข้อมูลจาก : สมาคมแพทย์ฝังเข็มและสมุนไพร

กระบวนการรักษาโรคนั้น เป็นกระบวนการของสัมพันธภาพที่เกิดขึ้นระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย ซึ่งความสัมพันธ์นี้ไม่ควรเป็นลักษณะของ “การสั่งทำ” แพทย์และผู้ปวยควรสร้างความสัมพันธ์ในลักษณะของ “ความร่วมมือ” กันมากกว่า ผลการรักษาของโรคหนึ่ง ๆ จะดีหรือไม่อย่างไรนั้น จึงขึ้นอยู่กับว่า แพทย์และผู้ป่วยจะสามารถประสานร่วมมือกันได้ดีเพียงใดอีกด้วย
           เวชกรรม ฝังเข็มกล่าวสำหรับคนไทยเราแล้ว ยังนับเป็นเรื่องแปลกใหม่  ดังนั้นเมื่อจะไปรักษาย่อมมีความกังวลใจและความหวาดกลัวเกิดขึ้นไม่รู้ว่า ควรจะเตรียมปฏิบัติตัวอย่างไรบ้าง? ทำให้การประสานร่วมมือในการรักษาไม่ราบรื่น ผลการรักษาจึงอาจไม่ดีเท่าที่ควร
            ดังนั้น ก่อนไปฝังเข็ม ผู้ป่วยก็ควรต้องมีการเตรียมตัวด้วย

1. เตรียมใจไปรักษา
            ผู้ป่วยรายหนึ่งเปนโรคกระดูกสันหลังเสื่อม มีอาการปวดหลังเรื้อรังมานานหลายปี ตะเวนไปรักษากินยาสารพัดแต่อาการไม่ทุเลา บังเอิญมีญาติคุยเรื่องฝังเข็มให้ฟังและพาผู้ป่วยมาพบแพทย์ เมื่อแพทย์ตรวจดุแล้ว จึงแนะนำให้รักษาด้วยการฝังเข็ม แต่ผู้ป่วยกลัวเจ็บมาก ขณะที่นอนบนเตียง เมื่อแพทย์จะลงมือปักเข็ม ผู้ป่วยก็ร้องเสียงดังลั่นด้วยความกลัว กล้ามเนื้อเกร็งไปหมดทั้งตัว จนกระทั่งแพทย์หมดปัญญาที่จะปักเข็มได้ สุดท้ายจึงต้องยกเลิกการรักษาไป
            การฝังเข็มนั้นเป็ฯการรักษาที่มีลักษณะเป็น “หัตถการ” ต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ป่วย ถ้าผู้ป่วยหวาดกลัวดิ้นไปมาโดยเฉพาะถ้าเป็นเด็ก แพทย์ก็จะปักเข็มได้ไม่ถนัดหรือผิดพลาด ผลการรักษาย่อมไม่ดีอย่างแน่นอน หรือกระทั่งอาจเกิดอันตรายขึ้นได้
            ผู้ป่วยที่มารักษาฝังเข็ม จึงควรมาด้วยความมั่นใจต่อการรักษา มิใช่มาด้วยความกังวล หวดวิตก บางคนกลัวเข็มเสียจริง ๆ กระทั่งเข็มฉีดยาก็ยังกลัวหรือแค่เห็นก็หวาดเสียว บางคนหน้าซีดใจสั่นหรือกระทั่งเป็นลมไปเลยก็มี ผู้ป่วยเหล่านี้ไม่ควรจะรักษาด้วยการฝังเข็ม เพราะผลการรักษามักจะไม่ค่อยดีเสมอ
           แพทย์เวชกรรมฝังเข็ม ที่ดีจึงควรอธิบายให้ผู้ป่วยและญาติเข้าใจถึงเป้าหมาย วิธีการ ข้อดีข้อเสียของการรักษาให้ชัดเจนพอสมควร จะช่วยลดความกังวลของผู้ป่วยและญาติได้มากทีเดียว

2. สวมใส่เสื้อผ้าให้เหมาะสม
            ในการฝังเข็ม ตำแหน่งจุดปักเข็มบางครั้งจะอยู่บริเวณใต้ร่มผ้า ผู้ป่วยจึงควรสวมใส่เนื้อผ้าที่เป็นชุดแยกส่วนระหว่างเสื้อกับกระโปรงหรือ กางเกง เสื้อผ้าที่สวมใส่ไม่ควรรัดแน่นเกินไปเพื่อสะดวกในการถลกพับ แขนเสื้อและปลายขากางเกงควรให้หบวมหรือกว้างพอที่จะพักสุงขึ้นมาหรือข้อศอก หรือข้อเข่าได้ ในกรณีที่ต้องปักเข็มบริเวณไหล่หรือต้นคอก็ควรเลือกสวมเสื้อที่มีคอกว้าง
            ผู้ป่วยที่เป็นโรคอัมพาต ควรสวมเสื้อแขนกุดและกางเกงขาสั้นจะทำให้แพทย์ปักเข็มได้สะดวกง่ายดายขึ้น

โดย ทั่วไปแล้วควรจัดให้ผู้ป่วยฝังเข็มในท่านอนเสมอ เพราะผู้ป่วยสามารถผ่อนคลายในขณะฝังเข็มได้ดีกว่า และยังช่วยป้องกันภาวะ “เวียนศีรษะหน้ามืด” ที่อาจเกิดได้ง่ายในรายที่วิตกหวาดกลัวมาก
3. รับประทานอาการให้พอเหมาะ
            โดยทั่วไปแล้ว ผู้ป่วยที่มาฝังเข็มควรรับประทานอาการมาก่อนประมาณ 1-2 ชั่วโมง และไม่ควรรับประทานอาหารมากจนเกินไป หากเพิ่งรับประทานอาหารอิ่มมาใหม่ ๆ หรือรับประทานมากเกินไป อาหารยังคงค้างอยู่ในกระเพาะอาหารมาก เมื่อมาฝังเข็มซึ่งต้องนอนเป็นเวลานาน ๆ ถึง 20 นาที อาจทำให้รู้สึกอึดอัด โดยเฉพาะในท่านอนคว่ำผู้ป่วยอาจทนไม่ได้ นอกจากนี้ หากต้องปักเข็มบริเวณหน้าท้อง ถ้ากระเพาะอาหารบรรจุอาหารจนพองโตมาก ๆ อาจทำให้เกิดอันตายจากการปักเข็มทะลุเข้าไปในช่องท้องหรือกระเพาะอาหารได้ ง่าย
            ตรงกันข้าม ไม่ควรมารักษาในขณะที่กำลังหิวจัด เนื่องจากผู้ป่วยอาจเกิดอาการ “หน้ามืดเป็นลม” ได้ง่ายเมื่อกระตุ้เข็มแรง ๆ ทั้งนี้เพราะว่าร่างกายอาจขาดพลังงานที่จะเอามาใช้เผาพลาญ ในขณะที่ระบบประสาทและฮอร์โมนกำลังถูกกระตุ้นจากการฝังเข็ม
4. ทำความสะอาดร่างกายให้เรียบร้อย
            การฝังเป็นมเป็นหัตถการที่ต้องใช้วัตถุแหลมคมปักผ่านผิวหนังลงไปในร่างกาย ผู้ป่วยจึงควรมีสภาพร่างกายที่สะอาด เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อโรคให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ก่อนมาฝังเข็ม หากผู้ป่วยสามารถอาบน้ำสระผมมาก่อนได้นั่นก็จะดีที่สุด หรืออย่างน้อยก็อย่าให้ส่วนของร่างกายบริเวณที่ต้องปักเข็มนั้นสกปรกจนเกิน ไปก็ถือว่าใช้ได้เหมือนกัน ผู้ป่วยบางคนมาฝังเข็ม ทั้ง ๆ ที่เท้ายังมีโคลนติดอยู่เลย เช่นนี้ก็ควรล้างเท้าให้สะอาดเสียก่อน เพราะอาจทำให้เชื้อโรคเข้าไปในร่งกายได้ง่าย
            ผู้ป่วยที่ต้องรักษาด้วยการปักเข็มศีรษะ ควรตัดผมให้สั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้ นอกจากนี้ ไม่ควรใช้เยลหรือครีมทาผมที่เหนียวเหนอะหนะหรือถ้าหากไม่ใช้เลยจะดีที่สุด เพื่อสะดวกแก่แพทย์ในการปักเข็มเช่นกัน
            ผู้ป่วยสตรีที่กำลังมีประจำเดือนมานั้น สามารถปักเข็มรักษาได้ โดยไม่มีอันตรายอะไรเลย การที่ไม่นิยมฝังเข็มในช่วงนี้คงเป็นเรื่องของความไม่สะดวกหรือความกระดาก อายมากกว่า
5. สงบกายและใจในขณะรักษา
              เมื่อ แพทย์ปักเข็มลงบนผิวหนัง ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บเล็กน้อยคล้ายกับถูกมดกัด เมื่อแพทย์ปักถึงตำแหน่งจุด ผู้ป่วยจะรู้สึกตื้อ ๆ หรือหนัก ๆ หรือชา เล็กน้อย เมื่อแพทย์เริ่มทำการกระตุ้นหมุนปั่นเข็ม ก็จะรู้ตื้อ ๆ หรือหนัก ๆ หรือชาเล็กน้อย เมื่อแพทย์เริ่มทำการกระตุ้นหมุนปั่นเข็ม ก็จะรู้สึกตื้อหรือหนักชามากขึ้น ในบางครั้ง ความรู้สึกดังกล่าวอาจจะแผ่เคลื่อนที่ออกไปตามแนวเส้นลมปราณก็ได้ หากเกิดความรู้สึกเช่นนี้ มักจะมีผลการรักษาดีเสมอ
              ใน กรณีที่ใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า ผู้ป่วยจะรู้สึกว่า กล้ามเนื้อบริเวณที่ปักเข็ม มีการเต้นกระตุกเบา ๆ เป็นจังหวะตามกระแสไฟฟ้าที่กระตุ้น
               โดยทั่วไปแล้ว ในระหว่างการฝังเข็มผู้ป่วยไม่ควรมีอาการเจ็บปวดหรือชามากจนเกินไป หากรู้สึกเจ็บปวดมากหรือมีอาการชามาก ๆ หรือรู้สึกเหมือนถูก “ฟฟ้าซ๊อต” ควรรีบบอกแพทย์ทันที เพราะเข็มอาจจะไปแทงถูกเส้นเลือดหรือเส้นประสาท หรือตำแหน่งของเข็มไม่ถูกต้อง หรือตั้งความแรงของกระแสไฟฟ้าจากเครื่องกระตุ้นไม่เหมาะสมก็ได้
                “ในระหว่างรักษา หากมีอาการผิดปกติหรือไม่สบายใด ๆ เกิดขึ้น เช่น แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก หรือมืด รู้สึกวิงเวียนศีรษะเหมือนจะเป็นลม ให้รีบบอกแพทย์ผู้รักษาหรือผู้ช่วยแพทย์ทันที”
              ขณะ ที่มีเข็มปักคาร่างกายนั้น ควรนั่งหรือนอนนิ่ง ๆ ไม่ควรขยับเคลื่อนไหวส่วนของร่างกายที่มีเข็มปักคาอยู่ เพราะอาจทำให้เข็มงอหรือหักคาเนื้อได้ ยกเว้นการขยับตัวเล็ก ๆ น้อย ๆ ยังสามารถทำได้ แต่ร่ากายส่วนอื่น ๆ ที่ไม่มีเข็มปักอยู่นั้น สามารถขยับเคลื่อนไหวได้ตามสบาย
               การฝังเข็มนั้นเป็ฯการกระตุ้นระบบประสาทเพื่อรปับการทำงานของอวัยวะระบบต่าง ๆ ให้สู่สภาพสมดุล ถ้าหากมีสิ่งใดมารบกวนระบบประสาทมากไปในขณะที่กำลังกระตุ้น กลไกการปรับสมดุลของการฝังเข็มก็ย่อมจะถูกกระทบกระเทือนไปด้วย
              ระหว่าง ที่ปักเข็มรักษา ผู้ป่วยควรอยู่ในสภาพที่สงบผ่อนคลายอาจหลับตาและหายใจเข้าออกช้า ๆ ให้เป็นจังหวะสม่ำเสมอ เพื่อช่วยทำให้จิตใจสงบสบาย ในสมัยโบราณที่ชาวจีนรักษาด้วยการฝังเข็มนั้น จึงมักมีการฝึกเดินลมปราณหายใจร่วมไปด้วย ก็มีเหตุผลเช่นนี้นั่นเอง
               ถ้าอยู่ในสภาพภายในห้องฝังเข็มมีบรรยากาศที่วุ่นวาย อึกทึกครึกโครม ผู้ป่วยนอนอยู่ในสภาวะที่ตืนตระหนก วิตกกังวล เจ็บปวดหรือหวาดกลัว ผลการรักษาก็มักจะออกมาไม่ค่อยดี
               ในระหว่างที่ปักเข็มกระตุ้นอยู่นั้น ผู้ป่วยบางคนอาจรู้สึกง่วงนอน เนื่องจาก การฝังเข็มสามารถกระตุ้นให้ร่างกายมีการหลั่ง สารเอนดอร์ฟีน (endorphins) เกิดขึ้น สารนี้มีฤทธิ์คล้ายมอร์ฟีนช่วยลดความเจ็บปวดและช่วยกล่อมประสาทให้รู้สึก เคลิบเคลิ้ม เมื่อรักษาไปหลาย ๆ ครั้ง ผู้ป่วยบางคนจะพบว่าตนเองนอนหลับได้ง่ายขึ้นหรือหลับสนิทขึ้น และจิตใจก็จะสดชื่นแจ่มใสมากขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย
               จากการสำรวจพบว่า มีชาวอเมริกันจำนวนไม่น้อยทีเดียที่ไปฝังเข็มด้วยเหตุผลเพื่อกระตุ้นร่างกาย และจิตใจให้สดชื่น ทั้งท ๆ ที่พวกเข้าไม่ได้เจ็บป่วยด้วยโรคอะไรเลยก็มี ซึ่งอาจจะเป็นเพราะฤทธิ์ดังกล่าวนี่เอง

6. การปฏิบัติตัวหลังการรักษา
               หลังจากปักเข็มกระตุ้นครบเวลาตามกำหนด ซึ่งใช้เวลาประมาณ 20-30 นาทีแล้ว แพทย์ก็จะถอนเข็มออก บางครั้งอาจมีเลือดออกเล็กน้อย ตรงจุดที่ปักเข็มเหมือนกับเวลาไปฉีดยา เนื่องจากเข็มอาจปักไปถูกเส้นเลือดฝอยเล็ก ๆ เมื่อใช้สำลีกดเอาไว้สักครู่ เลือกก็จะหยุดได้เอง
               หลังเสร็จสิ้นจากการรักษา โดยทั่วไปแล้วไม่มีข้อห้ามเป็นพิเศษอะไรเลย ผู้ป่วยสามารถรับประทานอาการ อาบน้ำ ทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ได้ตามปกติ ยกเว้นในกรณ๊ที่ติดเข็มคาใบหู เวลาอาบน้ำต้องระมัดระวังมิให้ใบหูเปียกน้ำ
               โดยทั่วไปแล้วหลังจากฝังเข็ม ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องกลับไปนอนพักที่บ้านแต่อย่างไร สามารถขับรถหรือกลับไปทำงานได้ เว้นแต่บางคนอาจมีอาการอ่อนเพลียได้บ้างหลังจากฝังเข็ม เมื่อนอนพักแล้วก็จะหายไปได้

7. การรักษาอื่น ๆ ร่วมกับการฝังเข็ม
               ผู้ป่วยที่มารักษาฝังเข็ม อาจมีโรคประจำตัวอย่างอื่นอยู่แล้ว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคไขมันในเลือดสูง โรคถุงลมโป่งพอง ฯลฯ ซึ่งมักจะต้องมียารับประทานรักษาอยู่เป็นประจำ หรือมีอาการรักษาอื่น ๆ เช่น กายภาพบำบัด ร่วมอยู่ด้วย
               โดยทั่วไปแล้วการรักษาด้วยการฝังเข็ม มักสามารถจะรับประทานยาหรือใช้การรักษาอื่น ๆ ร่วมไปด้วยได้ โดยไม่มีข้อห้ามอะไร
              อย่าง ไรก็ตามมีข้อสังเกตว่า การฝังเข็มอาจช่วยบรรเทาอาการโรคได้ด้วย เช่น ผู้ป่วยโรความดันโลหิตสูงที่มาฝังเข็มรักษาโรคอัมพาตของตนเอง อาจมีความดันโลหิตลดลงมาได้ในระหว่างรักษา ในกรณีเช่นนี้ก็ต้องปรับลดขนายาลงมาด้วย แต่ผู้ป่วยไม่ควรยหุดยาเหล่านั้นเองโดยพลการ

8. ข้อห้ามและข้อควรระวังสำหรับการฝังเข็ม
               1. ผู้ป่วยที่ตื่นเต้นหวาดกลัวต่อการรักษามากเกินไป ทั้ง ๆ ที่ได้พยายามอย่างเต็มที่แล้วก็ยังควบคุมจิตใจตนเองไม่ได้
               2. ผู้ป่วยที่เหน็ดเหนื่อยหลังออกกำลังกายหนัก
               3. สตรีตั้งครรภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงใกล้คลอด เพราะว่าผู้ป่วยเหล่านี้มักจะไม่สามารถทนนอนหรือนั่งเป็นเวลานาน ๆ ได้ การนอนหงายจะทำให้มดลูกและทารกในครรภ์กดทับหลอดเลือดดำใหญ่ในช่องท้อง อาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการช๊อกเป็นลมได้ ส่วนท่านอนคว่ำก็ไม่เหมาะสมกับสตรีขณะตั้งครรภ์ เพราะจะกดทับทารกในครรภ์และก่อให้เกิดความอึดอัดไม่สบายแก่มารดา
               4. ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด เมื่อเลือดออกแล้วหยุดยาก เช่น โรคฮีโมฟีเลีย เป็นต้น ถ้าจำเป็นต้องรักษาควรระมัดระวังเป็นพิเศษ การปักเข็มหรือการกระตุ้นเข็ม แพทย์จะต้องทำอย่างนุ่นนวลระวังมิให้เข็มปักโดนเส้นเลือดใหญ่ หลังจากถอนเข็ม ต้องกดห้ามเลือดให้นานกว่าผู้ป่วยทั่ว ๆ ไป
               5. ทารกเด็กเล็ก ผู้ป่วยโรคจิตที่ไม่สามารถให้ความร่วมมือในการรักษาได้
               6. ผู้ป่วยโรคหัวใจที่มีเครื่องกระตุ้นการเต้นหัวใจ (pacemaker) ติดอยู่ในร่างกาย ห้ามรักษาโดยเครื่องกระตุ้นเข็มด้วยไฟฟ้า เพราะอาจรบกวนการทำงานของเครื่อง ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะจนเกิดอันตรายร้ายแรงได้ อย่างไรก็ตาม ในกรณีเช่นนี้ ยังคงสามารถปักเข็มกระตุ้นโดยวิธีการหมุนปั่นด้วยมือได้
              “ข้อห้าม” ดังกล่าวเหล่านี้ มิใช่เป็นข้อห้ามอย่างสมบูรณ์เด็ดขาด ตัวอย่างเช่น การปักเข็มในผู้ป่วยโรคจิตก็อาจทำได้เหมือนกัน หรือกรณีเด็กเล็กที่ให้ความร่วมมือในการรักษาก็สามารถรักษาได้เช่นกัน ขอเพียงแต่เข้าใจถึงเหตุผลที่จะทำให้เกิดอันตราย เมื่อตั้งอยู่บนพื้นฐานของความระมัดระวัง เราก็อาจพลิกแพลงปักเข็มให้แก่ผู้ป่วยเหล่านี้ก็ได้

Monday, May 21, 2012

การรักษาโรคด้วยวิธีฝังเข็ม

การรักษาโรคด้วยวิธีฝังเข็ม

              อโรคยาปรมาลาภา เป็นคำกล่าวของพระพุทธองค์ที่แท้จริงแน่นอน เมื่อบุคคลใดเจ็บป่วยจะหาความสุขไม่ได้เลย ในเมื่อบุคคลใดเจ็บป่วยก็ต้องไปหาหมอ หมอก็พยายามที่จะรักษาให้หายจากโรคร้ายด้วยวิธีต่างๆ กัน ล้วนแล้วแต่ต้องการให้หายจากความเจ็บป่วย หายทรมาน ให้กลับมาเป็นคนที่มีพลานามัยสมบูรณ์และมีความสุขในชีวิต วิธีการรักษาที่หมอค้นคิด ศึกษาแนะนำมาใช้รักษาผู้ป่วยนั้น มีหลายแบบหลายวิธี เพื่อหวังผลอย่างเดียวคือ ให้ผู้ป่วยหายจากโรคภัย

             ในปัจจุบันนี้การรักษาโรค จะแยกออกไปได้หลายวิธี เช่น การรักษาด้วยยา การรักษาด้วยยา การรักษาด้วยการผ่าตัดการใช้รังสีรักษาและอีกวิธีหนึ่งที่หมอเองกำลังค้น คว้าหาผลดีของการรักษาแบบนี้ คือ วิธีรักษาด้วยการฝังเข็ม

                การรักษาโรคด้วยการฝังเข็มเป็นวิธีรักษาโรคแบบหนึ่งในหลายๆ แบบที่หมอใช้กัน การฝังเข็ม มิใช่ไสยศาสตร์ มิใช่สิ่งมหัศจรรย์ วิธีการรักษาก็เช่นเดียวกับการใช้วิธีให้ยา หรือวิธีผ่าตัดรักษา โดยที่หมอต้องวินิจฉัยโรคให้ได้ถ่องแท้ หาสาเหตุแห่งการเกิดโรคให้ได้แน่นอน แล้วตัดสินว่าวิธีใด เป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะใช้รักษา หรืออาจต้องใช้วิธีรักษารวมกันในหลายๆ วิธี ยกตัวอย่างเช่น

                 ผู้ป่วย เป็นโรคปวดศีรษะมา 10 ปีได้ตรวจระบบสายตา หู คอ จมูก เส้นเลือด และสมองแล้ว ไม่พบสิ่งใดผิดปกติ แต่มีอาการปวดศีรษะอยู่เสมอ ได้รับการรักษาด้วยวิธีการใช้ยามาเป็นเวลานานแล้ว ไม่หายขาด ก็เปลี่ยนวิธีการรักษามาใช้การฝังเข็ม เป็นต้น

                 วิธีการฝังเข็มนี้ เป็นวิธีรักษาโรค ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากประเทศตามประวัติศาสตร์ กล่าวว่า ในประเทศจีนใช้การฝังเข็มรักษาผู้ป่วยมาประมาณ 4,000 ปีแล้ว โดยการกระตุ้นจุดบางจุดในร่างกายด้วยของแหลม ส่วนใหญ่ใช้รักษาในการบรรเทาความเจ็บปวด การฝังเข็มก็มีวิวัฒนาการกันขึ้นมาเรื่อยๆ โดยใช้ในการรักษาโรคและป้องกันทำให้โรคหาย หรือบรรเทาไปได้ของแหลมที่ใช้กระตุ้นก็เปลี่ยนแปลงไปตามเวลา จากกระดูกสัตว์ หินมาเป็นเข็ม วัตถุที่ใช้ทำเข็มไม่มีความสำคัญในการรักษาแต่อย่างใด อาจเป็นทองคำ เงิน เหล็กไม่เป็นสนิมก็ได้ทั้งสิ้น  
                 ความสำคัญในการรักษาอยู่ที่การวินิจฉัยโรคได้ถูกต้อง การเลือกจุดการแทงถูกจุดที่ได้เลือกแล้วความรู้ในทางการแพทย์ที่เกี่ยวกับ กายวิภาค การติดเชื้อ มีความสำคัญในการใช้วิธีฝังเข็มรักษาโรคมาก ในเวลานี้เข็มที่ใช้ในการรักษาโรค ใช้เข็มทำด้วยเหล็กไม่เป็นสนิม รูปร่างและขนาดของเข็มก็มีแตกต่างกันไป 9 ชนิด แล้วแต่วิธีที่จะใช้ในการรักษา

การฝังเข็มในเวลานี้ แยกออกได้เป็น 2 ชนิด

1. การฝังเข็มเพื่อให้เกิดการชา
2. การฝังเข็มเพื่อการรักษา

1. การฝังเข็มเพื่อให้เกิดการชา
            เป็นการฝังเข็มบนจุดบางจุดที่กำหนดไว้ เพื่อให้เกิดการชาทำให้หายเจ็บปวดและทำให้ทำการผ่าตัดได้ ในการผ่าตัดบางชนิด ที่ไม่ต้องการการหย่อนตัวของกล้ามเนื้อ อาจใช้วิธีฝังเข็มทำให้เกิดการชา ทำผ่าตัดได้โดยไม่ต้องใช้ยาใดๆ เลย การฝังเข็มที่ทำให้เกิดการชา มีทั้งข้อดีและข้อเสียที่ยังต้องค้นคว้าทดลองต่อไปอีกจนกว่าจะได้ผลที่แน่นอนกว่านี้

ข้อดี คือ
1. เป็นการชาที่ไม่ต้องใช้ยาเลยหมดปัญหาเรื่องแพ้ยา พิษของยาและอาการแทรกซ้อนของยา
2. ค่าใช้จ่ายถูกมาก ไม่หมดเปลือง เข็มใช้แล้วนำมาใช้ใหม่ได้
3. นำไปใช้ในที่ทุรกันดารได้สะดวก นำติดตัวไปไหนๆ ได้ง่าย

ข้อเสีย คือ
1. เป็นวิธีการรักษาที่ต้องการความชำนาญ ต้องใช้เวลาฝึกหัดนานพอสมควร ต้องมีความรู้ทางกายวิภาคศาสตร์เป็นอย่างดี
2. ใช้เวลานานก่อนที่จะเกิดการชา ใช้เวลาประมาณ 30 นาทีจึงจะเกิดการชา
3. การชาไม่ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ จะมีการชาเกิดข้น 60-90 เปอร์เซ็นต์แล้วแต่บุคคล
4. ผลที่ได้ไม่แน่นอน มีสิ่งแวดล้อมข้ามาเกี่ยวข้องมาก เช่น อารมณ์ผู้ป่วย ความอดทนของผู้ป่วย อารมณ์ของหมอผ่าตัด และหมอวิสัญญี (หมอวางยาชา หรือยาสลบ)
5. เป็นการชาที่ไม่มีการหย่อนตัวของกล้ามเนื้อ ทำให้การผ่าตัดบางชนิดทำได้ด้วยความลำบากมาก
6. ปฏิกิริยาสะท้อน (รีเฟลกซ์) ของอวัยวะภายในยังคงอยู่ เวลาดึงกระเพาะลำไส้ผู้ป่วยยังรู้สึกแน่นและจุก ทำให้เกิดความไม่สบายแก่ผู้ป่วยได้มาก

             การฝังเข็มเพื่อทำให้เกิดการชา เป็นวิธีการที่น่าสนใจและน่าศึกษาเป็นอย่างยิ่ง แม้ว่าจะทำการผ่าตัดไม่ได้ทุกชนิด แต่ก็ทำผ่าตัดได้หลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ค่าใช้จ่ายถูกมากและนำติดตัวไปในที่ต่างๆ ทั่วประเทศได้สะดวก สิ่งที่ต้องการอย่างยิ่ง คือ ความชำนาญและความสนใจ

2. การฝังเข็มเพื่อการรักษา
               การ ฝังเข็มเป็นวิธีการรักษาโรคชนิดหนึ่ง ซึ่งยังอธิบายไม่ได้ชัดว่า ทำไมจึงหายจากโรคนั้นๆ ได้ เป็นวิธีรักษาโรคที่ใช้กันมาหลายพันปี มีผลออกมาให้เห็น คือ หายหรือทุเลา

              โรคที่ใช้รักษาด้วยวิธีฝังเข็มมี หลายร้อยวิธี เกือบจะว่ารักษาได้ทุกโรค ยกเว้นโรคที่เกี่ยวกับเนื้องอก ที่ควรผ่าตัดเอาออกมากกว่า โรคที่ใช้ในการรักษามีทั้งโรคติดเชื้อ การแพ้ (เช่น แพ้อากาศ ลมพิษ) โรคของอวัยวะภายใน (เช่น หืด ไอ ปวดท้อง โรคกระเพาะ ถุงน้ำดีอักเสบเป็นนิ่ว) โรคของไต (เช่น นิ่วก้อนเล็กๆ ไตอักเสบ) โรคระบบประสาท (เช่น ชา อัมพาต ปวดแขนขาโปลิโอ) โรคตา (ตาแดง ฝ้ามัว) โรคหู (หูอื้อ หูมีเสียง หูไม่ได้ยิน) ใบ้ โรคทางระบบสืบพันธุ์ (เช่น หมดความรู้สึกทางเพศ ประจำเดือนผิดปกติ) โรคที่เกี่ยวข้องกับการปวดทั้งหลาย (เช่น ปวดศีรษะ ปวดประสาท ปวดหลัง ปวดคอ แขน ข้อ ปวดกล้ามเนื้อ) โรคจิต กลัว ใจสั่น นอนไม่หลับ ฝันร้าย คิดมาก เหล่านี้ เป็นต้น ยังมีโรคอีกมากมายที่รักษาได้ หรืออาจทำให้ทุเลา

                วิธีการรักษา ก็คือ เมื่อ หมอวินิจฉัยโรคได้แล้ว ก็เลือกจุดที่จะใช้ในการรักษาตามตำแหน่งที่กำหนดไว้ แล้วใช้เข็มที่ทำความสะอาด และฆ่าเชื้อโรคแล้ว แทงบนจุดที่เลือกด้วย ด้วยวิธีการที่ถูกต้องและความชำนาญ จะทำให้เกือบไม่เจ็บเลย กระตุ้นเข็มเป็นเวลา 15-20 นาที ถอดเข็มออกได้ ทำวันละครั้งหรือ 2 วันครั้งแล้วแต่โรคที่เป็น และความรุนแรงของโรค เมื่อหายจากโรคร้ายเมื่อใดก็หยุดได้ หรือในโรคเรื้อรังให้ทำ 15 ครั้ง แล้วสรุปผลการรักษาที่หนึ่งอาจต้องใช้การรักษาระยะที่ 2 ต่ออีก 15 ครั้ง แล้วแต่ผลของการรักษาที่ได้รับ

ผลของการรักษาโรคด้วยวิธีฝังเข็ม ก็เช่นเดียวกับการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ อาจได้ผลดี หายหรือทำทุเลา หรือในบางราย อาจไม่หาย ต้องเปลี่ยนวิธีรักษาเป็นวิธีอื่น เช่น โรคหืด อาจหายขาดไปเลยหรือทุเลา หรือต้องกลับไปใช้ยาอีก เป็นต้น
ทำไมถึงหาย ได้มีคนค้นคว้าทำการวิจัย ในหลายประเทศในโลกนี้ว่าทำไมการรักษาด้วยการฝังเข็ม จึงหายจากโรคร้าย ในเวลานี้เท่าที่จะอธิบายกันก็ว่า การฝังเข็มทำให้เกิดผลได้หลายๆ อย่าง เช่น

1. ทำให้ง่วงในบางจุด
2. ทำให้ชาหายปวดในบางจุด
3. ทำให้วัยวะภายในทำงานได้ดีขึ้น จุดแต่ละจุดมีผลต่ออวัยวะต่างๆ เช่น ทำให้น้ำดีไหลดีขึ้น ไตทำงานดีขึ้น เป็นต้น
4. ทำให้ร่างกายมีภูมิต้านทานโรคดีขึ้น การทำงานของเนื้อเยื่อดีขึ้น
การ รักษาด้วยการฝังเข็มยังเป็นวิธีรักษาโรคที่ต้องค้นคว้า วิจัย และเพิ่มพูนความรู้ ความชำนาญ และความสนใจอีกมาก ในเวลานี้เราเชื่อได้ว่าการฝังเข็มทำให้โรคบางโรคหาย หรือทุเลาได้ บางโรคใช้เวลารักษาระยะสั้น บางโรคใช้เวลารักษาระยะยาว แต่ก็เป็นวิธีรักษาโรคที่ให้ประโยชน์แก่มวลชนได้

Disclaimer 


บทความที่เกี่ยวเนื่องกับสุขภาพจัดทำขึ้นเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจทางด้านสุขภาพแก่ผู้เข้าชมเท่า นั้น ไม่สามารถนำไปใช้อ้างอิงหรือใช้แทนการวินิจฉัยในการรักษาของแพทย์แก่ผู้ป่วย เฉพาะรายได้ เนื่องจากการวินิจฉัยโรคของผู้ป่วยแต่ละรายมีรายละเอียดข้อมูลที่แตกต่างกัน หากมีการนำข้อมูลเว็บไซต์ไปใช้โดยไม่ได้ปรึกษาผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ ทางผู้เขียนจะไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น

ขอบพระคุณ ข้อมูลจาก 

ข้อมูลสื่อ
File Name :
3-018
นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่ม :
3
เดือน-ปี :
07/2522
คอลัมน์ :
อื่น ๆ
นักเขียนรับเชิญ :
ศ.พญ.คุณหญิงสลาด ทัพวงศ์