Wednesday, May 23, 2012

วิวัฒนาการตำราการแพทย์แผนโบราณ

ในสมัยก่อน ชาวจีน อาศัยวิชาการแพทย์แผนโบราณเป็นระบบการแพทย์หลักของสังคม วิธีการรักษาโรคที่เป็นหลัก ได้แก่ การฝังเข็มและการใช้ยาสมุนไพร
          ใน คัมภีร์หวงตี้เน่ยจริงที่เก่าแก่ เมื่อ 2,000 กว่าปีก่อน มีการกล่าวบรรยายึถงโรคชนิดต่าง ๆ 100 กว่าโรค แต่ระบุให้ใช้ยารักษาเพียง 13 โรคเท่านั้นที่เหลือทั้งหมดนั้นแนะนำให้ใช้การฝังเข็มรักษาทั้งสิ้น จะเห็นได้ว่า การฝังเข็มมีประโยชน์ในการรักษากว้างมากกว่าการใช้ยาสมุนไพรเสียอีก
          ดัง นั้น ตามแนวการวิเคราะห์โรคของการแพทย์แผนโบราณจีน คำถามที่ว่า "การฝังเข็มรักษาโรคอะไรได้บ้าง "จึงไม่ใช่เป็นประเด็นที่ต้องถามเพราะโรคทุกอย่างต้องใช้การฝังเข็มรักษา ทั้งสิ้น ยกเว้นแต่มีข้อห้ามเท่านั้น

         ในตำราการแพทย์แผนโบราณของจีน ได้บันทึกวิธีการฝังเข็มรักษาโรคต่าง ๆ เอาไว้เป็นจำนวนมากครอบคลุมทุกแขนงของโรค ไม่ว่าจะเป็นอายุรกรรม ศัลยกรรม สูตินารีเวช กุมารเวช และโรคหูตาคอจมูก เป็นต้น สามารถใช้รักษาโรคได้ทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่ทารกจนถึงคนชรา สตรีตั้งครรภ์หรือไม่ตั้งครรภ์ โรคฉุกเฉินเฉียบพลันหรือโรคเรื้อรัง ก็สามารถฝังเข็มรักษาได้ทั้งสิ้น           ต่อมาภายหลัง เมื่ออารยธรรมตะวันตกได้แผ่ขนายเข้าสู่ประเทศจีน ระบบการแพทย์แผนตะวันตกก็ได้รับความนิยมมากขึ้น จนกลายเป็นระบบการแพทย์หลักของประเทศอย่างเต็มตัว
          เมื่อจีน เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบคักดินาของราชวงศ์แมนจูมาเป็นระบอบสาธารณรัฐ วิธีการรักษาโรคต่าง ๆ จึงกลายมาเป็นแบบแผนปัจจุบัน ส่วนการฝังเข็มก็ค่อย ๆ เสื่อมความนิยมลงไป
          จนกระทั่ง หลังจากมีการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี ค.ศ. 1949 การฝังเข็มจึงได้รับการฟื้นฟู เพื่อเอามาใช้รักษาโรคใหม่อีกครั้งหนึ่ง
          คำถามจึงเกิดขึ้นว่า "การฝังเข็มยังสามารถเอามาใช้รักษาโรคได้ ผลเหมือนกับวิธีการรักษาตามการแพทญ์แผนตะวันตกหรือไม่ ? "
          คน ทั่วไปมักจะเข้าใจกันว่า การฝังเข็มเป็นวิธีการบำบัดความเจ็บปวดอย่างหนึ่งเท่านั้น ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าในช่วงทศวรรษปี 1970 ที่จีน ได้เปิดประเทศติดต่อกับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก นั้น ข่าวสารเกี่ยวกับการฝังเข็มที่ทำให้ชาวโลกรู้สึกตื่นเต้นมากที่สุดก็คือ การฝังเข็มระงับความเจ็บปวดให้แก่ผู้ป่วยที่ถูกผ่าตัดโดยไม่ต้องใช้ยาชาหรือ ยาสลบ นอกจากนี้ กาค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับการฝังเข็มของประเทศทางตะวันตกในระยะแรก ๆ ก็มุ่งไปยังเรื่อง "การระงับความเจ็บปวด" เป็นเสียส่วนมาก
          ความ จริงแล้ว เมื่อจีนได้เริ่มพัฒนาวิชาฝังเข็มโบราณขึ้นมาใหม่นั้น ตั้งแต่ในปี ค.ศ. 1950 เป็นต้นมา ก็ได้มีการค้นคว้าทดลองฝังเข็มรักษาอาการผิดปกติและโรคต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก โดยมิได้จำกัดอยู่แต่เฉพาะเรื่องการฝังเข็มระงับความเจ็บปวดเท่านั้น แต่อย่างไรเลย
          จากการรวบรวมข้อมูลที่ยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ โจวตี้เซียง พบว่า นับตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1959 ถึง ค.ศ. 1985 ในประเทศจีนมีการวิจัยทดลองฝังเข็มรักษาโรคต่าง ๆ นับเป็นจำนวนมากถึง 1,116 โรค เมื่อจัดเป็นหมวดหมู่แล้วพบว่า การฝังเข็มสามารถใช้รักษาโรคที่พบได้บ่อยประมาณ 158 ชนิด
          ถ้า อิงตามมาตรฐานหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิตของประเทศจีน ในปัจจุบันแล้ว ในตำราวิชา "ฝังเข็มรมยา" ที่เป็นตำรามาตรฐานสำหรับมหาวิทยาลัยการแพทย์แผนโบราณทั่วทั้งประเทศฉบับ พิมพ์ ปี ค.ศ. 1995 ระบุรายชื่ออาการและโรคต่าง ๆ ที่สามารถใช้ฝังเข็มรักษาได้ 6 หมวด อันได้แก่ โรคทางอายุรกรรม ศัลยกรรม สูตินารีเวช กุมารเวช หูตาคอจมูก และภาวะฉุกเฉิน รวมจำนวนทั้งสิ้น 75 โรค (รายละเอียดตารางที่ 1)
          แน่นอน รายชื่อโรคและอาการจำนวน 75 อย่างนี้ คงถือเป็นเพียงเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำสำหรับนักศึกษาแพทย์เท่านั้นเอง หากกล่าวในเชิงงานค้นคว้าวิจัยแล้ว จำนวนโรคที่มีการทดลองฝังเข็มรักษาได้ผลนั้นมีมากเกินกว่านี้อีกมากทีเดียว
          เฉิน ฮั่นผิง แพทย์ฝังเข็มอาวุโสที่มีชื่อเสียงคนหนนึ่งของจีนในขณะนี้ และคณะผู้ร่วมงานประจำสถาบันวิจัยการฝังเข็มรมยาและเส้นลมปราณแห่งกรุง เซี่ยงไฮ้ ได้รวบรวมงานวิจัยเกี่ยวกับเวชกรรมฝังเข็มของจีนจำนวน 1,550 ชิ้น ตีพิมพ์เป็นนหังสืรายงานสรุปความก้าวหน้าของการค้นคว้าเกี่ยวกับการฝังเข็ม รักษาโรคต่าง ๆ ของจีนใระหว่างปี ค.ศ. 1991-1995 ออกมา ช่วยทำให้เรามองเห็นขอบเขตการรักษาโรคด้วยการฝังเข็มที่สำคัญของจีนในยุค ปัจจุบันนี้ได้ชัดเจนใรระดับหนึ่งว่า การฝังเข็มใช้รักษาโรคอะไรได้บ้าง (รายละเอียด ตารางที่ 2)
          นอกจากนี้แล้ว บรรดาประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกก็ได้นำเอาการฝังเข็มไปทดลองรักษาโรคต่าง ๆ เป็นจำนวนมากเช่นกัน เพื่อพิสูจน์ว่าการฝังเข็มมีประโยชน์ในการรักษาโรคตามคำอ้างของจีนจริงหรือ ไม่
          ศูนย์ฝังเข็มกรุงวอชิงตัน (Washington Acupuncture Center) แห่งสหรัฐอเมริกา ได้รวบรวมผลการทดลองฝังเข็มรักษาความผิดปกติต่าง ๆ 21 โรคในผู้ป่วยจำนวน 11,982 ราย ในช่วงตั้งแต่เดือนเมษายน ปี ค.ศ. 1976 รวมเป็นเวลา 3 ปี ซึ่งแม้ว่าข้อมูลการศึกษาครั้งนี้จะไม่สมบูรณ์ตามวิธีการวิจัยทางวิทยา ศาสตร์ แต่ก็เป็นข้อมูลที่มีขนาดใหญ่มากที่พอจะทำให้เห็นว่า การฝังเข็มนั้นสามารถรักษาโรคต่าง ๆ ได้ผลดี อย่างไม่น่าเชื่อเลยทีเดียว (รายละเอียด ตารางที่ 3)
          ในปี ค.ศ 1979 องค์อนามัยโลกแห่งสหประชาชาติ หรือ WHO (World Health Organization) ได้ตั้งคณะกรรมการศึกษาประโยชน์ของการฝังเข็มในการรักษาโรคต่าง ๆ ว่า มีความเป็นไปได้อย่างไรบ้าง จากการพิจารณข้อมูลทางคลินิก องค์การอนามัยโลกจึงได้ประกาศรายชื่ออาการหรือโรคต่าง ๆ ที่สามารถฝังเข็มรักษาได้ผลจำนวน 40 โรค (รายละเอียดตารางที่ 4) เป็นการแสดงให้เห็นว่า ถึงแม้การฝังเข็มจะมีกำเนิดจากการแพทย์แผนโบราณก็ตาม แต่ก็สามารถใช้รักษาโรคต่าง ๆ ได้ผลจริง
          แต่ว่า การที่ผู้ป่วยคนหนึ่ง ๆ หายจากโรคได้นั้น อาจเป็นเพราะว่าดรคนั้นสามารถทุเลาหายไปได้เองหรือมัอาจเป็นผลจากการรักษาก็ ได้ และเหตุที่ทำให้วิธีการนั้นสามารถรักษาโรคให้หายได้ ยังอาจมีปัจจัยอื่น ๆ มาประกอบร่วมด้วย การประเมินผลการรักษาของวิธีการรักษาหนึ่ง ๆ จึงต้องมีกระบวนการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้องมาตัดสิน
          การวิจัยเพื่อประเมินผลการรักษาที่เป็นที่ยอมรับกันมากที่สุดในวงการวิทยาศาสตร์การแพทย์นั้นก็คือ "การทดลองที่มีกลุ่มเปรียบเทียบ" หรือที่เรียกว่า controlled study ซึ่งมีการเปรียบเทียบว่า เมื่อใช้วิธีการรักษาอย่างหนึ่งรักษาผู้ป่วยกลุ่มหนึ่ง ผลการรักษาที่ออกมาจะดีกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ไม่ได้ใช้วิธีการนั้นหรือไม่ ถ้าผลการรักษาปรากฏออกมาว่า มีความแตกต่างกัน ก็แสดงว่าวิธีการรักษาดรคนั้นได้ผลรักษาจริง ถือว่า "น่าเชื่อถือ" การวิจัยแบบนี้มีขั้นตอนการทำวิจัยที่ยุ่งยาก ซับซ้อนพอสมควร มักต้องอาศัยทุนการวิจัยและใช้เวลาค่อนข้างมาก มิใช่เป็นเรื่องที่จะทำกันได้ง่าย ๆ
          การทดลองที่มีกลุ่มเปรียบเทียบนี้ อาจแบ่งย่อยออกเป็นอีก 2 แบบ คือ แบบที่มีการคัดเลือกตัวอย่างทดลอง โดยสุ่มเลือกอย่างไม่มีการเจาะจง (randomized sampling) ซึ่งถือว่าเป็นวิธีการวิจัยที่น่าเชื่อถือมากที่สุด ส่วนอีกแบบหนึ่งนั้น การคัดเลือกตัวอย่าง ไม่ได้ทำแบบสุ่มเลือก (non-randomized sampling) ซึ่งผลความน่าเชื่อถือจะเป็นรองกว่าแบบแรก

No comments: